ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบคล่องตัวของผู้บริหารสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำแบบคล่องตัวของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 2) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบคล่องตัวของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบคล่องตัวของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาจำนวน 306 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.973 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบคล่องตัวของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบคล่องตัวของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบคล่องตัวเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 4 ด้าน คือ 4.1) พัฒนาความคล่องตัวด้านบริบทเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจด้านลักษณะงาน 3 แนวทาง 4.2) พัฒนาความคล่องตัวด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจด้านลักษณะงาน 6 แนวทาง 4.3) พัฒนาความคล่องตัวด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงาน 7 แนวทาง และ 4.4) พัฒนาความคล่องตัวด้านภาวะผู้นำในตนเองเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงาน 4 แนวทาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราเจต วิเศษดอนหวาย. (2566). ลาก่อน VUCA มาแล้ว BANI : ชวน ผอ. ปรับตัวและโรงเรียนให้ทันการเปลี่ยนแปลง. เรียกใช้เมื่อ 6 เมษายน 2566 จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/652
ดลญา พุดทอง และสมหมาย อ่่าดอนกลอย. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำมุ่งความสำเร็จของงานของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการทำงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(2), 43-57.
นูรียะห์ หะแว. (2564). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในกราปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์นจำกัด.
ปดิวรัดา เกิดสุข และคณะ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 19(37), 51-62.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560. ราชกิจจนุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 295 ง หน้า 13 (29 พฤศจิกายน 2560).
ปราณี เข็มทอง. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พัฒนศักดิ์ อภัยสม และคณะ. (2565). แบบภาวะผู้นำทางการศึกษายุคใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(2), 1-12.
ภูวนาท เบ็ญจวรรณ์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับการทำงานแบบคล่องตัว. ใน สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 25 พศจิกายน 2566 จาก http://bit.ly/3QGGokN
อภิวัฒน์ มรรคผล และอุไร สุทธิแย้ม. (2565). ภาวะผู้นำแบบ Agile ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 16(1), 64-87.
อรอุมา จันทนป. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cathcart Technology Thailand. (2565). The Future of Leadership: ภาวะผู้นำในยุค BANI ผ่านมุมมองของกระทิง ประธาน KBTG. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566 จาก https://cathcarttechnology.co.th/insights/the-future-of-leadership-by-krating-kbtg/
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed). New York: Harper Collins.
Douglas, E. (2023). Six Competencies of Agile Leaders. Retrieved April 8, 2023, from https://leading-resources.com/communication/six-competencies-of-agile-leaders/
Glass, G. V. & Hopkins, K. D. (1984). Statistical Methods in Educational and Psychology. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Herzberg, F. (1992). The Motivation-Hygiene Theory. Handbook of Industrial and Organizational Psychology, 2(1), 129-156.
Joiner, B. & Josephs, S. (2007). Developing agile leaders. Industrial and Commercial Training, 39(1), 41-54.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.