แนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในยุคดิจิทัลโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายมรดกไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

Main Article Content

นัฏฐิภา บุญสุข
สุรพงษ์ แสงสีมุข
สุภาภรณ์ กิตติรัชฎานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในยุคดิจิทัล และ 2) หาแนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในยุคดิจิทัล แบ่งเป็น 2 ขั้น คือ การศึกษาสภาพและปัญหาการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในยุคดิจิทัล และการหาแนวทางส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในยุคดิจิทัล ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายมรดกไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 จำนวน 85 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu = 4.22, gif.latex?\sigma = 0.45) เรียงจากสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ การมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การติดต่อสื่อสารอย่างเปิดเผย การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และการมีส่วนร่วมในงาน ตามลำดับ ปัญหาการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในยุคดิจิทัล คือ ผู้บริหารไม่ส่งเสริมให้ครูทุกคนร่วมกันวางแผน ไม่จัดให้มีการตั้งกลุ่มสังคมออนไลน์แบบเปิด ไม่แบ่งงานกันทำ ไม่กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน และไม่เปิดโอกาสให้ครูทุกคนเสนอความคิดเห็นเพื่อแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานแนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในยุคดิจิทัล คือ ผู้บริหารควรปรับโครงสร้างการบริหารให้มีการกระจายอำนาจแบบมีส่วนร่วมให้สอดคล้องกับความต้องการของครู สร้างเครือข่ายสื่อสารสังคมออนไลน์และมีการใช้กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

Article Details

How to Cite
บุญสุข น., แสงสีมุข ส., & กิตติรัชฎานนท์ ส. (2024). แนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในยุคดิจิทัลโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายมรดกไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(7), 98–107. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/277231
บท
บทความวิจัย

References

กรรณาภรณ์ ริวัฒนา. (2564). การพัฒนารูปแบบศักยภาพของบุคลากรในองค์กรสื่อประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กิตติคุณ รักษาพล. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคธัญบุรี.

จิรัฏฐ์ สีห์งามพิมล. (2565). รูปแบบการทำงานเป็นทีมสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

ณิชชารีย์ สุทธิชาเจริญพงษ์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมภายใต้การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนราธิวาส. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นนทวัตร ทาหอม. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เปรมชัย ปิยะศิลป์. (2565). การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตนาวดี เรืองอินทร์. (2566). การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ลำเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2560). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. นนทบุรี: สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566-2570). สุโขทัย: กลุ่มนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การบริหารงานบุคคลสู่การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาสู่ภูมิภาค. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการบริหารงานบุคคลและนิติการ.

สิทธิศักดิ์ เพ็ชรยิ้ม. (2563). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.