ผลการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเกาะสมุย

Main Article Content

นุชจรีย์ ชัยขันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มโรคที่แพร่กระจายเชื้อทางอากาศก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ 2) เพื่อประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจหลังการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่แพร่กระจายเชื้อทางอากาศ ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 83 และ 100 คน ตามลำดับ และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ แบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติและแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อ
การใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired Sample t - test ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้แนวปฏิบัติคะแนนเฉลี่ยผลการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มโรคที่แพร่กระจายเชื้อทางอากาศถูกต้องเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 คะแนน เฉลี่ยการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ หลังการใช้แนวปฏิบัติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจหลังการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.85, S.D. = 0.18) ทำให้มีแนวทางการปฏิบัติงานครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ จึงควรมีการส่งเสริมการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
ชัยขันท์ น. (2024). ผลการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(4), 67–77. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/276506
บท
บทความวิจัย

References

จริยา ชื่นศิริมงคล และเลิศศิลป์ เอี่ยมพงษ์. (2565). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเข้า ข่ายสงสัย/ผู้ ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ห้องตรวจผู้ป่วยนอกติดเชื้อทางเดินหายใจ (OPD ARI). Vajira Nursing Journal, 24(2), 27-38.

นฤมล พินิจ. (2565). การพัฒนาแนวทางการคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลินิกโรคติดเชื้อทางเดิน หายใจ เฉียบพลันโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. Journal of Nursing and Public Health Research, 2(2), 38-54.

โรงพยาบาลเกาะสมุย. (2567). ข้อมูลรายงานผู้ป่วยวัณโรค หัด สุกใส แผนกผู้ป่วยนอก. สุราษฎร์ธานี: โรงพยาบาลเกาะสมุย.

สำนักการพยาบาล. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักการพยาบาล. (2554). การประกันคุณภาพการพยาบาล : การประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ).

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2567). แนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

Al - Omari, A. et al. (2019). MERS coronavirus outbreak: Implications for emerging viral infections. Diagnostic microbiology and infectious disease, 93(3), 265-285.

Centers for Disease Control and Prevention. (2022). 2007 Guideline for Isolation Precautions: Preventing Transmission of Infectious Agents in Healthcare Settings Last update: May 2022. Retrieved November 1 , 2023, from https://www.cdc.gov/infectioncontrol/pdf/guidelines/isolation-guidelines-H.pdf

D'Amiano, N. et al. (2023). Infection Control and Prevention in the Outpatient Physical Office Setting. Infection Control Today, 27(3), 24-26.

Metta, E. et al. (2023). Community Perspectives of Ebola Viral Disease in High-Risk Transmission Border Regions of Tanzania: A Qualitative Inquiry. Retrieved October 10 , 2023, from https://assets.researchsquare.com/files/rs-3634133/v1/80db68a9-38ee-4502-9f85-e7e35c4afb9b.pdf?c=1701274461

Wei, L. et al. (2023). A framework for airborne infection risk assessment based on real-time occupant distribution prediction in outpatient waiting space. Retrieved October 10 , 2023, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S2352710223012883

World Health Organization. (2022a). Measles outbreak guide. Retrieved October 22 , 2023, from https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/360891/9789240052079-eng

World Health Organization. (2022b). Transmission-based precautions for the prevention and control of infections. Retrieved October 22 , 2023, from https://www.who.int/publications/i/item/WHO-UHL-IHS-IPC-2022.2

World Health Organization. (2023). WHO operational handbook on tuberculosis Module 1: prevention-infection prevention and control. Retrieved November 1 , 2023, from https://www.who.int/publica tions/i/item/9789240002906