การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามรูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังไทร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พิมพ์ขวัญ อาจหาญ
กฤษณี สงสวัสดิ์
ปารุษยา เกียรติคีรี

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามรูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ 3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านก่อนหลังใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ ซี ไอ อาร์ ซี และ  4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามรูปแบบการสอน แบบร่วมมือ ซี ไอ อาร์ ซี แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ค่าสถิติที t - test ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามรูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.84/82.80 2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามรูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ระดับชั้นประถมศึกษา 4 มีทักษะการอ่าน คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามรูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อาจหาญ พ. ., สงสวัสดิ์ ก. ., & เกียรติคีรี ป. (2024). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามรูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังไทร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(2), 140–150. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/275038
บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ชัยภูมิ: โรงเรียนบ้านเป้า.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติยาพร สุทโธ. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ , 14(1), 1-13.

กุลธิดา แก้วตาบุศย์ และคณะ. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. เชียงราย: โรงเรียนเทศบาล 6.

เกสร รองเดช. (2553). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะวิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

คอลีเย๊าะ เจ๊ะโด. (2560). ความพึงพอใจต่อการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการ สื่อสารสำหรับนักศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษ. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

จิตตรา มุกดาดี และคณะ. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ การคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ CIRC กับแบบ 4MAT. วารสารวิชาการฉบับมนุยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(1), 463-478.

นิธิวดี จรัสดี. (2557). การพัฒนาการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิคการฝึกกลวิธีการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบโฟร์บล็อก. ใน วิยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประภัสสร กาญจนชัย. (2563). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 195-204.

ปาริชาติ ศิริคําน้อย. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ). แพร่ : โรงเรียนเทศบาลวัดหัวข่วง .

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และเพยาว์ ยินดีสุข. (2560). การจัดการเรียนรู้แนวในทศวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วทัญญู ขลิบเงิน. (2556). ยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge societies). วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 638-648.

ศรสวรรค์ ทูลธรรม และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 7(2), 126-133.

อรุณี วิริยะจิตรา. (2555). เหลียวหลังแลหน้าการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

AbuSeileek, A. F. (2007). Cooperative vs. individual learning of oral skills in a CALL environment. Computer Assisted Language Learning, 20(5), 6-23.

Johnson, D. W. & Holubec, E. J. (1990). Circles of learning: Cooperation in the classroom (3rd ed.). Edina, MN: Interaction Book Company.

Khemmani, T. (2011). Teaching science: Knowledge for effective learning process management. (14th ed.). Bangkok: Dansuthakha.

Kuder, G. F. & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(1), 151-160.