การประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผน ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Main Article Content

ปริศนา มัฌชิมา
บรรพต พิจิตรกำเนิด
สุดารัตน์ เจตน์ปัญจภัค
วรัตต์ อินทสระ
สายสุดา ปั้นตระกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุน
การวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียน (SDU 4S) ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหา รายข้อเนื้อหาความเหมาะสมของเนื้อหามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการติดตั้งใช้งานและการล็อกอินเข้าใช้ระบบ รายข้อการติดตั้งแอปพลิเคชัน ด้านรูปแบบการนำเสนอมีข้อความน่าสนใจและด้านการจัดการแอปพลิเคชัน 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พบว่า ผู้เรียนที่มีอายุแตกต่างกันมีการประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กฤษณี เสือใหญ่. (2558). พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแบบดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชินวัจน์ งามวรรณากร. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่อง ภาษาอังกฤษสำหรับนักสารสนเทศ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ปาจรีย์ ตรีนนท์ และคณะ. (2562). ผลของการใช้สื่อการเรียนรู้แอพพลิเคชั่นเพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(3), 98 - 105.

ภาณุวัฒน์ เรืองกุลทรัพย์ และคณะ. (2565). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐาน ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 298 - 312.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2563). คู่มือการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนการเรียน. เรียกใช้เมื่อ 8 ตุลาคม 2565 จาก https://arit.dusit.ac.th/uploads/manual/sdu4smanual.pdf

สุอัมพร ปานทรัพย์ และดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2563). การประเมินการใช้งานแอปพลิเคชัน 7-Eleven TH บนพื้นฐานของทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 10(1), 85 - 97.

เสกสรร สายสีสด และคณะ. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจในการใช้ แอปพลิเคชัน TikTok ของนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(3), 11 - 26.

อรลดา แซ่โค้ว. (2558). เว็บแอพพลิเคชั่นการจัดการความร้ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Al-Adwan, A. S. et al. (2018). Modeling Students’ Readiness to Adopt Mobile Learning in Higher Education: An Empirical Study. International Review of Research in Open and Distance Learning, 19(1), 221 - 241.

Demir, K. & Akpinar, E. (2018). The effect of mobile learning applications on students' academic achievement and attitudes toward mobile learning. Malaysian Online Journal of Educational Technology, 6(2), 48 - 59.