วิเคราะห์มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วยนิติปรัชญา (1)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง “วิเคราะห์มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วยนิติปรัชญา (1)” นี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสารบัญญัติและการบังคับใช้มาตรา 112 ว่าเน้นถึงแก่นที่แท้จริงของกฎหมายตามแนวคิดใดในทางนิติปรัชญา 2) เพื่อศึกษาความคิดที่แตกต่างกันในการแก้ไขมาตรา 112 ว่าใช้ตรรกะทางนิติปรัชญาหรือปรัชญาใด โดยวิธีการวิจัยเอกสาร คือ รวบรวมและวิเคราะห์จากเอกสารต่าง ๆ ประการแรกพบว่า สารบัญญัติ (ความผิดอาญาและระวางโทษ) และการบังคับใช้มาตรา 112 นั้น ส่วนใหญ่ไม่ตรงกับแก่นแท้ของกฎหมายในแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมทางกฎหมาย แนวคิดแบบปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย หรือแนวคิดแบบประวัติศาสตร์นิยมทางกฎหมาย ที่เป็นภววิสัยปราศจากอคติ 4 และสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องอิงอยู่กับอคติใด ส่วนประการที่สอง พบว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างกันในการแก้ไขสารบัญญัติของมาตรา 112 นั้น เป็นการยึดถือหรือถูกครอบงำ (ในด้านดีหรือด้านไม่ดี) ด้วยกรอบชุดข้อความ ความคิด ความรู้ ความชื่อ และความจริงในแบบต่าง ๆ เช่น แบบศาสนา แบบทางการศึกษา แบบทางสังคม แบบทางเศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง จึงทำให้ความคิดเห็นแตกต่างกัน ที่สำคัญ คือ ไม่เน้นตรรกะทางปรัชญาจนทำให้อคติแทรกได้ง่ายกระทบต่อความยุติธรรมและเสรีภาพ (สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ) ในระบอบประชาธิปไตยและระบบธรรมาธิปไตย ทางแก้ไขควรใช้ปัญญานำศรัทธา อย่างมีเหตุผลและเจตจำนงที่ดี ยึดในจารีตประเพณีที่เหมาะสมกับยุคสมัย ในแนวทางแบบปรัชญาและนิติปรัชญาเชื่อว่าจะก่อให้เกิดการเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 41). (2519). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 134 หน้า 46 (21 ตุลาคม 2519).
จรัญ โฆษณานันท์. (2561). นิติปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พนารัตน์ มาศฉมาดล. (ม.ป.ป.). แนวความคิดในการจัดทำกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127. เรียกใช้เมื่อ 22 กรกฏาคม 2566 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=% E0%B8%8 1%E0%B8%8E %E0%B8%AB%
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับพิเศษ). (2499). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอนที่ 95 หน้า 1 (15 พฤศจิกายน 2499).
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 จาก http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd16.htm
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2561). ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฏาคม 2566 จาก https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/buddhadhamma_ extended_ ed ition.pdf
สมภาร พรมทา. (2561). “คำบรรยายวิชานิติปรัชญา ตอนที่ 1 - 10” ในศูนย์ศึกษาพุทธปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฏาคม 2566 จาก http://csbp.mcu.ac.th/
ไอลอว์ ฟรีดอม. (2558). วิวัฒนาการของ “กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์” ในรอบ 200 ปี ตามบริบทสังคมการเมือง. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฏาคม 2566 จาก https://freedom.ilaw.or.th/blog /His toryof112
Bentham, J. . (1969). Introduction to the Principles of Moral and Legislation. New York: Macmillan Co. Ltd.