ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษา โดยใช้ทฤษฎีระบบกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

Main Article Content

กาญจนา เขียวหวาน
ธีรังกูร วรบำรุงกุล
วัยวุฒิ บุญลอย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ทฤษฎีระบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 2) ศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้ทฤษฎีระบบกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 302 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้อำเภอเป็นที่ตั้ง คัดเลือกครูจากการสุ่มอย่างง่าย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเทียบจากตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการบริหารโดยใช้ทฤษฎีระบบ เท่ากับ 0.93 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจากกลุ่มตัวอย่างโดยขอหนังสือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้ความร่วมมือในการทำวิจัยจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 นำสำเนาหนังสือขอความร่วมมือในการทำวิจัยต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล โดยกำหนดวันในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาโดยใช้ทฤษฎีระบบ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การบริหารโดยใช้ทฤษฎีระบบมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนกฤต อั้งน้อย. (2563). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านวังจาน. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT, 1(3), 31-42.

นพพล โพธิ์เงิน. (2560). การบริหารการศึกษาตามหลักไตรสิกขากับทฤษฎีเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 143-145.

บุศรา เชื้อดี. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทบริบาลสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. ใน ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

ปุญชรัศมิ์ พันธุวัฒน์ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานคัดกรองนักเรียนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 176-177.

พรณรงค์ ทรัพย์คง. (2563). วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนา สพป.จบ.1 ปี 2564. เรียกใช้เมื่อ 2 ธันวาคม 2563 จาก https://www.chan1.net/story/803

พระธนาธร ธีรปญฺโญ. (2559). บทวิเคราะห์ศักยภาพทางการบริหารและแนวทางการพัฒนาเชิงระบบของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. ธรรมทรรศน์, 16(3), 217-233.

วรวุฒิ สุขะเสวก. (2563). การบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตนักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตจังหวัดนครสวรรค์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(1), 377-389.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประจำปีการศึกษา 2564. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สิทธิพงศ์ เจียมพรเศรษฐ์ และคณะ. (2565). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกลุ่มบางบ่อ 1 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 162-177.

สุทธิดา จำรัสมนต์ และคณะ. (2562). มุมมองทฤษฎีระบบของรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูสะเต็ม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1), 147-158.