ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดใหม่ : ตามพระราชบัญญัติให้ใช้กฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่ยิ่งใหญ่ในระดับหนึ่งของแทบทุกประเทศทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยปัญหาเรื่องยาเสพติดเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงที่มีการสะสมและก่อให้เกิดผลเสียและผลกระทบต่อสังคมในทุกระดับเริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนไปจนถึงระดับประเทศมาอย่างยาวนานที่สมควรได้รับการแก้ไข อย่างจริงจัง
จากผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกองค์กร จึงเห็นได้ว่าปัญหายาเสพติดนับเป็นปัญหาสังคมที่มีความร้ายแรง ระดับชาติ เนื่องจากทุกสังคมต่างได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว รวมถึงการแพร่ระบาดในสังคมไทยแม้จะ มีมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้ลักลอบจำหน่ายและผู้เสพยาเสพติดมาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่สามารถขจัด และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปได้ เนื่องจากเป็นขบวนการที่มีความซับซ้อน และนับวันปัญหาดังกล่าว ยิ่งทวีความรุนแรง
เพิ่มมากขึ้น และเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดใหม่ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และพ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 บังคับใช้วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ประกอบด้วย 24 มาตรา โดยมีข้อสังเกตบางประการ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการมองผู้เสพเป็นผู้ป่วย เน้นให้ผู้ทำผิดไปบำบัดรักษาแทนการลงโทษ แต่แนวทางปฏิบัติเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน เพราะยังไม่มีกฎหมายลูก ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมา เจตนารมณ์นี้เป็นการตอบโจทย์หรือเปล่า หรือพูดอีกอย่าง คือ การนำผู้เสพไปบำบัดรักษาเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติไหม การกำหนดโทษที่น้อยลงจะทำให้ผู้ค้า ผู้เสพเข็ดหลาบไหม ดังนั้น
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมีผลในทางคุณประโยชน์แก่ผู้กระทำความผิดมากขึ้นและ
เกิดความเกรงกลัวต่อกฎหมายน้อยลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมราชทัณฑ์. (2566). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์คดี พ.ร.บ. ยาเสพติดทั่วประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 6 เมษายน 2566 จาก http://www.correct.go.th
กอบกูล จันทวโร. (2546). กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับยาเสพติด : ในมิติของการปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติดทางทะเล. เรียกใช้เมื่อ 17 เมษายน 2566 จาก http://elib.coj.go.th/Article/drug1.pdf.
เกียรติก้อง หนูจันทร์. (16 พฤษภาคม 2566). การพิจารณาความผิดของผู้กระทำผิด. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
จักรกฤษ บุญหรอ. (4 พฤษภาคม 2566). การใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดี. (น นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2560). กฎหมายควบคุมยาเสพติดเปรียบเทียบ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 3(2), 148 - 164.
ชนะชัย ลิ้มโอภาส. (15 เมษายน 2566). ความสำคัญของการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดในประเทศไทยปัจจุบัน. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
นนทชัย นพรัตน์. (10 พฤษภาคม 2566). การใช้ดุลพินิจในการสืบสวน. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
นพพร แซ่ภู่. (15 พฤษภาคม 2566). ปัญหาของสถานที่บำบัดฟื้นฟู. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
บัณฑิตย์ สุขะวิศิษฐ์. (10 พฤษภาคม 2566). ปัญหาในการวางแผนจับกุมผู้ค้ายาเสพติด. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
ปรุฬห์ชัย เหมกัง. (16 พฤษภาคม 2566). กฎหมายใหม่จะช่วยลดจำนวนนักโทษได้หรือไม่. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
พจน์ ยอดพิจิตร. (10 เมษายน 2566). การยึดทรัพย์สินคดียาเสพติดและการใช้สถานที่บำบัดฟื้นฟู. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
พรพจน์ เทพทอง. (13 พฤษภาคม 2566). ช่องว่างของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 (ฉบับพิเศษ). (2499). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอนที่ 95 หน้า 1 (13 พฤศจิกายน 2499).
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 (ฉบับพิเศษ). (2522). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 63 หน้า 40 (22 เมษายน 2522).
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 2). (2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก หน้า 81 (7 พฤศจิกายน 2564).
ภูรินทร์ เพชรที่วัง. (20 เมษายน 2566). ภาพรวมของปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ประกาศใช้กฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
ภูวิชชชญา เหลืองธีรกุล. (2565). กฎหมายยาเสพติดใหม่: 8 เดือนของการบังคับใช้ในภาวะที่ยังไร้กฎหมายลูก กับ ภูวิชชชญา เหลืองธีรกุล. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2566 จาก https://www.the101.world/eight-months-new-narcotic-bills/.
วีระญา คชบริรักษ์. (11 เมษายน 2566). ปัญหาของสถานที่บำบัดฟื้นฟู. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
วีระศักดิ์ มะลิทอง. (12 พฤษภาคม 2566). แนวทางการฟ้องและดำเนินคดีกับผู้ทำผิด. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2563). ต้นทุนทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของนโยบายปราบปรามยาเสพติดของไทย. วารสารนวัตกรรมสังคม, 3(1), 21 - 44.
สุวนัย ตุลยภักดิ์. (8 เมษายน 2566). ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราโทษ. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
สุวัฒน์ พรหมขุนทอง. (9 พฤษภาคม 2566). ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราโทษ. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
สุวิทย์ ครุครรชิต. (10 เมษายน 2566). ช่องว่างของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (นางสาวภิญญาพัชญ์ เห็นประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)