ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดกับความภักดี ต่อร้านค้าบอนสีผ่านช่องทางสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก

Main Article Content

จุฑารัตน์ พู่พัฒนศิลป์
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจจา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดกลุ่มบอนสีผ่านช่องทางสังคมออนไลน์เฟชบุ๊ก กลุ่มบอนสีด่างแรร์ไอเทม ไทยแลนด์ Caladium 2) เปรียบเทียบความภักดีต่อร้านค้าบอนสีผ่านช่องทางสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กตามข้อมูลส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดกับความภักดีต่อร้านค้าบอนสีผ่านช่องทางสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก เป็นวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม โดยเลือกแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย ที่อยู่ในกลุ่มบอนสีด่างแรร์ไอเทม ไทยแลนด์ Caladium วิเคราะห์สถิติด้วยข้อมูล ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน t - test F - test, (One - way ANOVA) และ Correlation Analysis ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุต่ำกว่า 20 ปี หรือเทียบเท่า อาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ความถี่ในการเข้าใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวัน 10 ครั้งขึ้นไป ระดับความสำคัญด้านการรับรู้การสื่อสารทางการตลาด ซึ่งเป็นตัวแปรต้น ภาพรวมค่าเฉลี่ยในระดับสำคัญปานกลางระดับความคิดเห็นต่อความภักดีร้านค้า โดยใช้ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางระดับความคิดเห็นต่อความภักดีร้านค้าในด้านการสื่อสารการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ผลจากการทดสอบสมมติฐาน การรับรู้การสื่อสารโดยใช้พนักงาน และการส่งเสริมการขาย มีอิทธิพลต่อความภักดีร้านค้า อย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะการศึกษา การโพสต์
การไลฟ์หรือถ่ายทอดสดกำหนดการที่แน่นอน เวลา 30 - 60 นาที วิดีโอรูปภาพคมชัดธรรมชาติ การไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กใช้คำและน้ำเสียงที่สุภาพ สัญญาณอินเทอร์เน็ตต้องเสถียร นำเสนอการสื่อสารที่แปลกใหม่ สร้างเอกลักษณ์/ภาพจำให้กับลูกค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Windows. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ณัฐณฺศา โกกนุต และกิตติ แก้วเขียว. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการบริการและปัจจัยทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(1), 118-128.

ดวงสมร หรั่งช้าง. (2564). ทัศนคติ ผู้มีอิทธิพลทางสังคม และส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิญญ์สลิชา เจริญพูล. (2561). รูปแบบและวิธีการถ่ายทอดสดผ่านเฟชบุ๊คของร้านขายสินค้าแฟชั่นออนไลน์. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2564). ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน 2564 การซื้อของออนไลน์ช่วง COVID-19. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก http://www.tpso.moc.go.th/th/node/11098

สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2564). ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล 2564 เทคโนโลยีดิจิทัลกับชีวิตวิถีใหม่. เรียกใช้เมื่อ 17 ธันวาคม 2566 จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/ course/?c=2&l=2

สุบิน พุทโสม. (2564). อิทธิพลของความเสี่ยงในการซื้อสินค้าออนไลน์ ความพึงพอใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ และความภักดีในการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ซ้ำ. วารสารวิชาการ, 27(2), 57-73.

อรสุธี เหล่าปาสี. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ, 8(2), 1906-3431.

Cronbach, L. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc-Graw Hill.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2004). Consumer behavior (8th ed.). Upper Saddle River: N.J. Pearson/Prentice Hall.

Serirat, S. et al. (2017). Marketing management in the new era: (Marketing Management) revised edition New. Bangkok: Diamond in Business World.