การพัฒนาระบบป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครราชสีมา 3) นำเสนอระบบป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร ได้แก่ พระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่วัดในตำบลด่านเกวียน และวัดในตำบลหัวทะเล จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 รูป ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำวัด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 30 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดย
การพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย 1) ด้านฐานข้อมูลสุขภาพพระสงฆ์ จัดทำระบบฐานข้อมูลพระสงฆ์ เพื่อให้ทราบข้อมูลเชื่อมโยงข้อมูลพระสงฆ์กับสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสุขภาพ 2) ด้านปฏิทินสุขภาพ นำปฏิทินยามาใช้เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีรับประทานยา 3) ด้านการปฏิบัติตน พระสงฆ์ที่อาพาธต้องดูแลตนเอง ปรับตัวให้อยู่กับโรคเรื้อรังและดูแลสุขภาพตนเอง 4) ด้านความร่วมมือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ 2) พัฒนากระบวนการป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงด้วย “ปฏิทิน ยาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง” 3) นำเสนอระบบป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การรวบรวมข้อมูลและประสานข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ปฏิบัติตนด้วยการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพระสงฆ์ หน่วยงานเครือข่ายสร้างความร่วมมือพระสงฆ์ได้สิทธิรักษาพยาบาล สนับสนุนงบประมาณดูแลสุขภาพพระสงฆ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอนามัย. (2562). คู่มือการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์กรทหารผ่านศึก.
จาริณี ยศปัญญา และวันเพ็ญ ศิวารมย์. (2561). การวิจัยการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระภิกษุสามเณรในวัดส่งเสริมสุขภาพ. ขอนแก่น: ศูนย์อนามัยที่ 6.
ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 97 - 104.
นงลักษณ์ เทศนา และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
นันทวัน ยิ้มประเสริฐ และคณะ. (2565). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกายในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารเกษมบัณฑิต, 16(2), 61 - 72.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2560). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
วัฒนา สว่างศรี และศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. (2563). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 121 - 131.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2562). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2562. นนทบุรี: บริษัทวิกิจำกัด.
สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. (2562). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
สุนทรีย์ คำเพ็ง และอรธิรา บุญประดิษฐ์. (2564). ผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหมู่ที่ 9 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี. สระบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท.