การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ปรารถนา วรรณวิจิตร
ดิเรก นุ่นกล่ำ
กันตภณ หนูทองแก้ว
พระครูอรุณสุตาลังการ .
พระครูวิรัตธรรมโชติ .

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวม มีค่าเฉลี่ยแปลผล อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า อาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีทักษะศักยภาพด้านบทบาทและหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 3.90) รองลงมา คือ อาสาสมัครฯ มีทักษะศักยภาพด้านการปฏิบัติงาน (gif.latex?\bar{x} = 3.88) และมีทักษะศักยภาพด้านบุคลากร (gif.latex?\bar{x} = 3.33) ส่วนมีทักษะศักยภาพด้านการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (gif.latex?\bar{x} = 3.31) 2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า อาสาสมัครฯ ควรมีการบูรณาการยกระดับทักษะศักยภาพบุคลากรของหน่วยงาน ด้วยการฝึกฝน อบรมขั้นตอนการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะศักยภาพในการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเตรียมบุคลากรให้มีความพร้อม มีการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา ให้มีทักษะตรงกับงานที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ใช้วาจาที่เหมาะสม ไพเราะสุภาพอันจะก่อให้เกิดความสามัคคี พร้อมอุทิศตนเสียสละทำงานร่วมกันเป็นทีม

Article Details

How to Cite
วรรณวิจิตร ป. ., นุ่นกล่ำ ด. ., หนูทองแก้ว ก. ., . พ., & . พ. (2023). การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(10), 96–103. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/272839
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ นิ่มทัศนศิริ. (2557). การให้ความหมายที่มาของความหมายและแนวทางในการเป็นอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ ฉบับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 7(1), 181 - 189.

กฤษฏา ศรีมโน. (23 ธันวามคม 2565). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

ชัยอนันต์ ไชยจิตร. (20 ธันวามคม 2565). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล. (2557). การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2), 184 - 186.

ธนวัฒน์ ศากยโรจน์. (12 มกราคม 2566). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

ธัญญลักษณ์ พลูสวัสดิ์. (4 มกราคม 2566). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

นฤมล เรืองศิลป์. (22 ธันวามคม 2565). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2545). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี.

พระครูสมุห์พิสิทธิ์ อนาลโย (ช่วยตรึก). (2563). การเพิ่มพลังศักยภาพแก่อาสาสมัครกู้ภัยของสมาคมกู้ชีพกู้ภัยคอกช้าง จังหวัดยะลา โดยหลักสังคหวัตถุ 4. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์พิสิทธิ์ อนาลโย (ช่วยตรึก). (17 ธันวามคม 2564). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

มงคลรัตน์ ปิยะนนัท. (2551). สถานภาพและบทบาทขององค์กรสาธารณประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างยั่งยืน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัษฎาวรรณ โพธิขันธ์. (2548). การรับรู้ภาวะผู้นำและศักยภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในจังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรวัฒน์ ทัศโน. (23 ธันวามคม 2565). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

วินัสนันท์ เทพลักษณ์. (11 มกราคม 2566). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

ศุภรัตน์ รัตนมุขย์. (2544). “บัณฑิตอาสาสมัคร: ทางเลือกของการพัฒนาจิตสานึกทางสังคม”. วารสารคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ, 1(1), 33-37.

ศุภักษร สนิทปู่. (26 ธันวามคม 2565). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาศตร์, (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครศรีธรรมราช: วีพีเอส.

สิทธิโชค ทับเพชร. (22 ธันวามคม 2565). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

สุชาวดี ชูมี. (11 มกราคม 2566). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)

สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2557). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวพระพุทธศาสนา. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุทธินันท์ จันทร์ประทุม. (19 ธันวามคม 2565). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิประชาร่วมใจ. (ปรารถนา วรรณวิจิตร, ผู้สัมภาษณ์)