การป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในชุมชนสู่การพัฒนาเป็นพลเมืองดิจิทัล

Main Article Content

ยุพยงค์ วิงวร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในชุมชน 2) เพื่อพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางด้านการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสู่การพัฒนาเป็นพลเมืองดิจิทัล และ 3) เพื่อจัดทำและเผยแพร่คู่มือประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในชุมชนตำบลจอมบึง เบิกไพร และสวนผึ้ง ในจังหวัดราชบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและสัมภาษณ์แบบกลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในชุมชนจังหวัดราชบุรีแบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ ดังนี้ 1) ปัญหาการหลอกลวงโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 2) ปัญหาการหลอกลวงโดยการขายสินค้าออนไลน์ 3) ปัญหาการถูกแฮ็กบัญชีโซเชียล 4) ปัญหาการถูกหลอกลวงเพื่อนำเอาเอกสารและข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการกระทำความผิดอนาคต และ 5) ปัญหาการชักชวนให้มีการเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินโดยมีค่าตอบแทนให้ ซึ่งผู้วิจัยเสนอแนวทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ในชุมชนให้หมดไป ต้องเสริมสร้างทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) ให้แนวคิดแนวปฏิบัติแก่ประชาชนในจังหวัดราชบุรีได้เรียนรู้และมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาด มีการบริหารจัดการ กำกับตนเองได้ รวมถึงรู้เท่าทันและสามารถปกป้องตนเองจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเคารพสิทธิตนเองและผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เพื่อเผยแพร่ต่อชุมชนกลุ่มเป้าหมายให้ได้ศึกษาเรียนรู้เป็นวงกว้างผ่านการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากคู่มือประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเผยแพร่แก่ประชาชนในจังหวัดราชบุรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ คุรุนันท์ และทัชชกร แสงทองดี. (2566). แนวทางการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ของประเทศไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(6), 179 - 190.

ชฎาภรณ์ สิงห์แก้ว. (2564). บทบาทภาครัฐในการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 539 - 552.

ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์ และสุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2556). การเปลี่ยนรูปแบบของอาชญากรรมในศตวรรษที่ 21: ปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(1), 1 - 29.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2565). แก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาด พุ่ง 270% ตำรวจ-กสทช. ล้อมคอก”. เรียกใช้เมื่อ14 มิถุนายน 2565 จาก https://www.sec.or.th/TH/Template3/Articles/2561/ac-post-25611024-warning-icoandcrytocurrency.pdf

ปริย เตชะมวลไววิทย์. (2561). ระวังถูกหลอกลงทุน ...ไอซีโอและคริปโทเคอร์เรนซ. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2565 จาก https://www.sec.or.th/TH/Template3/Articles/2561/ac-post-25611024-warning-icoandcrytocurrency.pdf

สรวิศ บุญมี. (2566). ภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจสู่อาชญากรรมทางเทคโนโลยี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(2), 19 - 26.

สุรัตน์ สาเรือง. (2561). อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต. วารสารสหศาสตร์ (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล), 18(2), 134 - 161.

สุวรรณี ไวท์ และคณะ. (2564). มนุษย์กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 339 - 355.

MGR Online. (2565). ปอท.เปิดสถิติอาชญากรรมทางเทคโนโลยี “หมิ่นประมาท” มากสุด “แฮ็กข้อมูล” อันดับ 2. เรียกใช้เมื่อ 14 มีนาคม 2565 จาก https://m.mgronline.com/onlinesection/detail/9580000026336