พื้นที่แห่งการเรียนรู้เชิงพุทธโดยชุมชนเป็นฐานในพื้นที่เขตเมือง: บริบทตลาดน้ำขวัญ - เรียม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระมหาวรวุฒิ ภูผา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอพื้นที่แห่งการเรียนรู้แก่สังคมมุ่งศึกษาพื้นที่แห่งการเรียนรู้เชิงพุทธในพื้นที่ชุมชนเมืองบริบทของตลาดน้ำขวัญ - เรียม ในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาสะท้อนว่าพื้นที่แห่งการเรียนรู้เชิงพุทธ คือ สถานที่พื้นที่ชุมชนเขตเมืองมาช่วยกันพัฒนาขึ้น และส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยใช้ต้นทุนพระพุทธศาสนาและบริบทของชุมชนเป็นพื้นฐานหลัก ในการพัฒนาและยกระดับการเรียนรู้เชิงพุทธโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นพื้นที่ที่สั่งสมต้นทุนทางสังคมและกลายเป็นแห่งเรียนรู้ให้กับสมาชิกในชุมชนมีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมพุทธศาสนาได้ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสงบและเรียบง่าย ตลาดน้ำขวัญ - เรียม มีกิจกรรม ได้แก่ การพัฒนาทางจิตใจ การเผยแพร่ความรู้ทางธรรมของผู้ที่สนใจในพุทธศาสนาการทำบุญ และการฝึกปฏิบัติธรรม ด้านการท่องเที่ยว ตลาดน้ำขวัญเรียมยังเป็นพื้นที่ส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับชุมชนระดับฐานรากที่เกิดจากความต้องการของชุมชน เกิดการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างสังคมและวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ และสนับสนุนการอยู่อาศัยและการบริโภคในชุมชนโดยบูรณาการการเรียนรู้เชิงพุทธ นอกจากยัง พบว่า บริบทตลาดน้ำขวัญ - เรียม สะท้อนมิติของการเรียนรู้ตามหลักอนุตริยะ 6 คือ การเกิดภาวะอันเยี่ยมหรือสิ่งที่ยอดเยี่ยม ประกอบด้วย 1) ทัสสนานุตริยะ คือ การเห็นอันเยี่ยม 2) สวนานุตตริยะ คือ การฟังอันเยี่ยม
3) ลาภานุตตริยะ คือ การได้อันเยี่ยม 4) สิกขานุตตริยะ คือ การศึกษาอันเยี่ยม 5) ปาริจริยานุตตริยะ คือ การบำเรออันเยี่ยม และ 6) อนุสสตานุตตริยะ คือ การระลึกอันเยี่ยม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2545). กระบวนการเรียนรู้ ความหมาย แนวทางการพัฒนา และปัญหาข้องใจ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). Learning Space - พื้นที่เรียนรู้ เติมวันว่าง ลดเวลาเสี่ยง เพื่ออนาคตเด็กและเยาวชนไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/society/2682633

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.). (2566). Learning ให้ Loving: “5 พื้นที่เรียนรู้” ทางเลือกทดลองของการศึกษานอกห้อง. เรียกใช้เมื่อ 2 สิงหาคม 2566 จาก https://thaivolunteer.org/learningtoloving_space/

วิจารณ์ พานิช. (2561). มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคมที่สหราชอาณาจักร บทบาทของมหาวิทยาลัย: การมีส่วนร่วมสาธารณะในสหราชอาณาจักร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันคลังสมองแห่งชาติ.

วิจารณ์ พานิช และปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร. (2563). การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.). (2565). 30 นโยบายเรียนดี ของผู้ว่าฯ ชัชชาติ ปักธงลดความเหลื่อมล้ำ ลดภาระครู - ผู้ปกครอง ปั้นโรงเรียนคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 2 สิงหาคม 2566 จาก https://research.eef.or.th/30-studypolicy-chadchart/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040. กรุงเทพมหานคร: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (2561). แผนพัฒนาการศึกษากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562 - 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุทัย ดุลยเกษม. (2560). กรองความคิดด้านการศึกษาตลอดชีวิตในสังคมไทยยุค 4.0. นครปฐม: ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Arends, R. I. (2009). Learning to teach. 8thed. New York: McGraw - Hill.

Flecky, K. (2011). Foundations of service-learning Jones and Bartlett. Retrieved June 28, 2023, from https://samples.jbpub.com/9780763759582/59582_ch01_final.pdf