ความต้องการนวัตกรรมในการผลิตปลาย่างของเกษตรกร หมู่ที่ 1 ตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลด้านเศรษฐกิจและสังคม 2) ปัจจัยการได้รับการสนับสนุน 3) ปัจจัยด้านแรงจูงใจ 4) ความต้องการนวัตกรรมในการผลิตปลาย่างและ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยด้านการได้รับการสนับสนุนและปัจจัยด้านแรงจูงใจกับความต้องการนวัตกรรมในการผลิตปลาย่างของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรหมู่ที่ 1 ตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จำนวน 203 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 133 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดและสถิติอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.4 อายุเฉลี่ย 54.93 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 82.0 รายได้เฉลี่ย 71,837.60 บาท/ปี รายจ่ายเฉลี่ย 18,009.02 บาท/ปี ประสบการณ์ในการทำปลาย่างเฉลี่ย 29.77 ปี เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ 53.4 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนบ้าน ร้อยละ 93.7 และแหล่งเงินทุนจากตนเองมากที่สุด ร้อยละ 100.0 3) เกษตรกรมีปัจจัยด้านแรงจูงใจเฉลี่ยสูงสุดด้านความต้องการความสำเร็จ 2.39 รองลงมา คือ ด้านความต้องการความผูกพัน 2.38 และด้านความต้องการอำนาจ 2.33 4)เกษตรกรมีความต้องการนวัตกรรมเฉลี่ยสูงสุดด้านปัจจัยนำเข้าเฉลี่ย 2.37 รองลงมา คือ ด้านกระบวนการผลิตเฉลี่ย 2.35 ด้านผลผลิตเฉลี่ย 2.34 และด้านการตลาดเฉลี่ย 2.31 5)ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์ในการผลิตปลาย่าง ความต้องการความสำเร็จ ความต้องการความผูกพัน ความต้องการอำนาจมีความสัมพันธ์กับความต้องการนวัตกรรมโดยภาพรวม และรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง. (2562). สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจการประมงครึ่งปีแรก ปี 2560 และแนวโน้มครึ่งปีหลัง ปี 2560. เรียกใช้เมื่อ 8 ธันวาคม 2565 จาก https://www.fisheries.go.th/strategy/UserFiles/files/28 - 9 - 60.pdf
คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี. (2562). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดลพบุรีภายใต้แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. ใน รายงานการวิจัย. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ครรชิต ทรรศนะวิเทศ. (2562). แรงจูงใจในการทำงานกับผลประกอบการ Motivation to work with earnings. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(28), 124 - 133.
คำรบ สมะวรรธนะ และพิมพ์ชนก พริกบุญจันทร์. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้ปลาย่างเพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงและแปรรูปปลาบ้านวังแร่ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 13(4), 253 - 267.
ญาณิศา เผื่อนเพาะ และประสพชัย พสุนนท์. (2564). นวัตกรรมชุมชนเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 32 - 44.
ธีระ สูตะบุตร. (2537). ความต้องการทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเกษตรแห่งชาติในทศวรรษหน้า. วารสารข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 35(387), 7 - 8.
ปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล. (2560). นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 3 ธันวาคม 2565 จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2017/PPT_Group2.pdf
แผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำโรง. (2564). ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 14 ธันวาคม 2565 จาก https://www.khoksamrong.go.th/upload/20220131155606.pdf
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2553). การบริหารสินเชื่อการผลิตทางการเกษตร. เรียกใช้เมื่อ 17 พฤษภาคม 2566 จากhttps://ms.udru.ac.th/asst.prof.benchamat/4knowledgesources/ createdthaibooks/ farmmanagement/chapter12.pdf
ยุพิน สมคําพี่. (2552). การจัดการธุรกิจอาหารแปรรูปพื้นบ้าน : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ปลาในเขตหมู่บ้านรอบหนองหาร จังหวัดสกลนคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2566). เกษตรกรรม. เรียกใช้เมื่อ 7 มีนาคม 2566 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/
%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2553). นวัตกรรม : ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ, 33(128), 49 - 65.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.