การสร้างชุดการสอนกิจกรรมเสริมทักษะด้านการฟัง การร้อง และการเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนประภามนตรี 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิภาพของชุดการสอนกิจกรรมเสริมทักษะด้านการฟัง การร้อง และการเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 รวมทั้งศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนด้วยชุดการสอนกิจกรรมเสริมทักษะดังกล่าว โดยใช้การวิจัยแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว และมีวิธีการดำเนินวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 25 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนประภามนตรี 2 ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ และได้วัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนทุกสัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีคุณภาพดี สามารถนำไปใช้ในการวิจัยได้ โดยมีผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ค่าเฉลี่ยที่ได้คือ 4.89 ด้านแบบทดสอบค่าเฉลี่ยที่ได้ คือ 5.0 โดยภาพรวมทั้งหมด พบว่า ค่าเฉลี่ยที่ได้ คือ 4.96 แปลว่า คุณภาพของชุดการสอนกิจกรรมเสริมทักษะด้านการฟัง การร้อง และการเคลื่อนไหวมีคุณภาพที่ดี ด้านผลการประเมินจากการทดลองใช้ชุดการสอนกิจกรรมเสริมทักษะด้านการฟัง การร้อง และการเคลื่อนไหว ทั้งหมด 6 แผนการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนประภามนตรี 2 จำนวนทั้งหมด 25 คน เพื่อหาประสิทธิภาพชุดการสอน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากคะแนนที่นักเรียนได้ทำแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้เพื่อหาประสิทธิภาพตัวแรก (E1) และคะแนนประเมินหลังเรียนที่นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาวิเคราะห์ (E2) พบว่า E1 เท่ากับ 83.8 และ E2 เท่ากับ 89.8 แสดงว่า กิจกรรมที่ผู้เรียนได้ทำกับการสอบหลังเรียนในสวนของทฤษฎี มีความสอดคล้องกัน และส่งผลให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
เกษมสันต์ ตราชู. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เกษร รองเดช. (2522). การสร้างแบบฝึกเพื่อสอนซ่อมเสริมการออกเสียงพยัญชนะ ง ฟ ฝ คว และ ปว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2551). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์.
เชษฐพงศ์ รอตฤดี. (2562). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีตามแนวการสอนของออร์ฟและดาลโครช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรุ่งอรุณ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีตะวันตก. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ณรุทธ์ สุทธจิตด์. (2537). หลักการของโดดายสู่การปฏิบัติ วิธีการค้านคนตรีศึกษาโดยการสอนแบบโคคายแอร์เซเบท เชินยื. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2555). การสอนดนตรีของชูซูกิ. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก https://www. playmusic.co.th/images/filestorage/2555 06 1/ Suzuki.pdf
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัณฑ์ชนิต ปัญญะสังข์. (2550). การสอนวิชาขับร้องสากล : กรณีศึกษาโรงเรียนคนตรีมีฟ้า. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี. มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิชัย ตุ้งประโคน. (2564). การเรียนฟลูตเบื้องต้น. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก https://www. gotoknow.org /posts/14882
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : ชมรมเด็ก.
ล้วน สายยศและอังคฌา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ ส่งเสริมวิชาการ.
วรรณวุฒิ วรรณารุณ. (2553). ผลของการใช้กิจกรรมดนตรีตามแนวติดของโดดายที่มีต่อทักษะทางตนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.