การใช้ภาพยนตร์แนวอัตชีวประวัติเพื่อเพิ่มพูนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การฟังภาษาอังกฤษเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญต่อการเรียนภาษาในศตวรรษที่ 21 ทักษะการฟังถือเป็น
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนในสังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ให้รับรู้ข่าวสารและความร่วมมือระหว่างกัน แต่นักศึกษาประสบปัญหาการฟังคำศัพท์ที่ไม่คุ้นชิน ฟังบริบทที่ยาวและเร็วเกินไป ไม่เข้าใจสำนวนและคำแสลงในบริบทที่ได้ยิน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฟังภาพยนตร์ภาษาอังกฤษแนวอัตชีวประวัติ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 30 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบทดสอบย่อย เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ Repeated Measures ANOVA ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีการรับรู้เกี่ยวกับอัตชีวประวัติของบุคคลสำคัญผ่านการฟังภาพยนตร์มากที่สุด และผลการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 3.10 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F (3.64, 101.88) = 26.06, p < .001, η2 = .48) เมื่อนำผลสัมฤทธิ์มาเปรียบเทียบ พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ย 4.57 และการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 9.03 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F (3.39, 98.30) = 25.30, p < .001, η2 = .47) นักศึกษามีการจดจำคำศัพท์เกี่ยวกับอัตชีวประวัติทั้ง 3 คนอย่างมีนัยสำคัญ มีการเรียนรู้ด้านประโยคทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน เนื่องมาจากรูปประโยคที่ได้ยินเป็นสำเนียงของคนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองทำให้สำเนียงที่ได้ยินไม่คุ้นเคยและมีการรับรู้อัตชีวประวัติสูงขึ้น นักศึกษามีการใช้ความรู้เดิมกับความชื่นชอบบุคคลสำคัญเหล่านั้นมาเติมเต็มความรู้ใหม่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกริก กี่สวัสดิ์คอน และคณะ. (2565). การใช้กลวิธีในการฟังและปัญหาที่เกิดจากการทำความเข้าใจการบรรยายเชิงวิชาการของนักศึกษาไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(3), 15-28.
ชยกร สุตะโคตร และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. (2560). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้คลิปภาพยนตร์ต่างประเทศ. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(26), 103-109.
ปรียานุช ทองเกลี้ยง. (2562). ผลการใช้แบบฝึกประกอบภาพยนตร์ที่มีต่อทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ระบบบริการการศึกษา สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (2566).รายชื่อนักศึกษาและแผนการเรียน. เรียกใช้เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://reg.chandra.ac.th/registrar/studentset.asp?facultyid=3&acadyear=2565&semester=1
วนิดา วาดีเจริญ และคณะ. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิด ทฤษฎี สู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
โสภิต สุวรรณเวลา. (2563). ผลการพัฒนาทักษะการฟังและการอ่านภาษาอังกฤษโดยการชมภาพยนตร์และการฟังเพลงของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8, 116-127.
Cubalit, A. N. (2016). Listening Comprehension Problems of Thai English Learners: Proceedings of theThird International Conference on Language, Literature & Society. Sri Lanka: InternationalCenter for Research and Development.
Harmer, J. (2015). The practice of English language teaching. (5th ed.). Slovakia: Pearson.
Ismaili, M. (2013). The effectiveness of using movies in the EFL classroom – A study conducted at South East European University. Academic Journal of Interdisciplinary Studies, 2(4), 121-132.
Richard, J. . (2015). Key issues in language teaching. Dubai: Cambridge University Press.
Sreena, S., & Ilankumaran, M. (2018). Developing productive skills through receptive skills – A cognitive approach. International Journal of Engineering & Technology, 7(4), 669-673.
Worrawattananukul, A. . (2016). APIU learners’ attitudes toward using English movies for developing listening comprehension skills. ใน research paper Master of Arts (English for careers). Thammasat University.