ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการมีส่วนร่วม กับการพัฒนาโรงพยาบาลเอกชนขนาด 80 เตียง ในจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรบริการโรงพยาบาล 2)ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรกับการพัฒนาโรงพยาบาลและ 3)ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลในการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาลเอกชนขนาด 80 เตียงในจังหวัดภูเก็ต ประชากรคือ บุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนขนาด 80 เตียงแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 380 คน กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจงจากประชากร จำนวน 290 คน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 – 30 เมษายน 2564 โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล และการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาโรงพยาบาล ค่าความเที่ยง 0.8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนขนาด 80 เตียง ส่วนใหญ่มีอายุ 21-30ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงานในโรงพยาบาลน้อยกว่า 5 ปี อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและในกลุ่มงานที่ปฏิบัติงานงานบริการรักษาพยาบาลเกี่ยวข้องกับการรักษา มีประสบการณ์/การฝึกอบรมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลมากกว่า 1 ครั้งต่อปี 2) การมีส่วนร่วมของบุคลากรกับการพัฒนาโรงพยาบาลเอกชนขนาด 80 เตียงในจังหวัดภูเก็ตอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.05 การมีส่วนร่วมของบุคลากรมากที่สุด คือด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 3) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลในการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาลเอกชนขนาด 80 เตียงในจังหวัดภูเก็ตแล้วพบว่า ตำแหน่งหน้าที่กลุ่มงานที่ปฏิบัติงานและที่มีประสบการณ์/การฝึกอบรมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ในการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มอื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญญวัลย์ ศรีสวัสดิ์พงษ์. (2554). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์v. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข . มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิรานีย์ สายสนั่น ณ อยุธยา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาล, 62(4),59 – 65.
จิราภรณ์ รัตติกาลสุขะ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2557). การบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับรางวัลดีเด่น บทความวิจัย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 179 – 186.
นภาภรณ์ อินต๊ะ. (2554). การมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของโรงพยาบาลพะเยา. ใน สารนิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประชาภรณ์ ทัพโพธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Varidian E-Journal, 7(2), 475-491.
พัชราภรณ์ บุญมี และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2554). การศึกษาการบริหารองค์การพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารพยาบาลทหารบก, 12(2), 53-59.
มัชฌิมา เวชกุล. (2553). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาและรับรองคุณภาพของโรงพยาบาลกระบี่. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.
สุปราณี เจียรพงษ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปราจีนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และทิพยรัตน์ แกวศรี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากร โรงพยาบาลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 1(1), 40-54.
Mohammad,S. and Bataynch,A.E. (2011). The Relationship between Transformational Leadership and Employees Satisfaction at Jordaianprivate hospital. Business and Economic Horizons April, 5(2) 35-46.