การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษา ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตรัง เขต 2

Main Article Content

อรินดา จันดี
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) คุณภาพการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 4) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาตรัง เขต 2 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 294 คน โดยกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอรแกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำ 4) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำในการจัดทำหลักสูตรให้ทันสมัยมี ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำคณะครูในการปรับ Mind set การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จาก Passive learning ปรับเป็น Active learning ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กำหนดนโยบายและแนวทางการใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล นามเทวี. (2556). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตจอมทองสังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

จีรวัฒน์ ภูอาบทอง, สมใจ ภูมิพันธุ์ และภัทรวรรณ คําาแปล. (2564). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(3), 31-42.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริม. กรุงเทพ.

ปาริชาต สุนทร. (2560). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ระวิพรรณ รมภิรัง. (2558). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน. รายงานสืบเนื่องการประชุม สัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 23 กรกฎาคม 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์: สำนักงาน บัณฑิตวิทยาลัย.

วริทธิ์สิน ไชยอัษฎาพร. (2564). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. (1644-1661). สงขลา.

วิโรจน์ บุญเรือง. (2552). ปัญหาและขอ้เสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาลใน จังหวัดชลบุรี. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลยับูรพา.

สงวนพงศ์ ชวนชม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 20(2), 59 - 68.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 7(1), 1-8.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2563. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก https://trang2.go.th/index.php?lang=th

สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หทัย ศิริพิน. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม นครราษฎร์ประสิทธิ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Krejcie & Morgan. (1970). Approach in Quantitative Research. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(2), 112-125.

Minudin, O. B. (1987). The Role of the Secondary School Principal as Perceived by Secondary School Principals in Sabah. Malaysia. Dissertation AbstractsInternational, 47(7), 2403- 2418.