แนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

สายฝน เหล่าลาภะ
สุนิสา วงศ์อารีย์
นวัตกร หอมสิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดอุดรธานี และ 2) ประเมินแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดอุดรธานี ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวมจำนวน 5 ราย เลือกแบบเจาะจง เกี่ยวกับแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดอุดรธานี ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประเมินแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้มีความรู้/ประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา อย่างน้อย 5 ปีและอย่างน้อย 10 ปี และมีความรู้/ประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานศึกษา อย่างน้อย 10 ปี รวมจำนวน 5 ราย เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูล ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความสอดคล้อง และแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดอุดรธานี มี 4 ด้านดังนี้ 1) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร 2) ด้านการกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน 3) ด้านการวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และ 4) ด้านการให้รางวัลตอบแทน และ 2. การประเมินแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดอุดรธานี มีด้านความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความสอดคล้อง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ คุณสมบัติ. (2556). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอท่าตะเกียบสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนวิชญ์ แก่นท้าว. (2560). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(2), 89-100.

นัยณ์ปพร ปะทิ. (2556). องค์ประกอบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พระชรอ ยากองโค. (2561). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โซนเศรษฐกิจ จังหวัดสงขลา. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รัตนาภรณ์ มาคุ้ม. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 จังหวัดกำแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชกำแพงเพชร.

วรรณา เวียงแก้ว. (2558). กระบวนการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ศักดิ์ดา แดงเถิน. (2555). การบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนตาม ทัศนะของครูในสำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สิรินญา สิริโคน. (2561). การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนบ้านมาบเตยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกริก.

อัมพาวานี แดงนุ้ย. (2558). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์เครือข่ายท่าแพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Guskey & Thomas. (2000). Evaluating professional development. Thousand Oaks: CA: : Corwin Press.