แนวทางการประชาสัมพันธ์เพื่อการตัดสินใจของนักเรียนและผู้ปกครอง ในการเลือกโรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการตัดสินใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการประชาสัมพันธ์เพื่อการตัดสินใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประชาสัมพันธ์เพื่อการตัดสินใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน สนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการตัดสินใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียน มี 7 ปัจจัย 1) วิสัยทัศน์ ภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ผู้บริหารและครูรวมถึงสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา 2) สื่อสังคมออนไลน์ 3) ด้านวิชาการ 4) ด้านอาคารสถานที่และการจัดสภาพแวดล้อม 5) ด้านคุณลักษณะของครูและผู้บริหาร 6) ด้านความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน 7) ด้านสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว 2. แนวทางการประชาสัมพันธ์เพื่อการตัดสินใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียน โดยนำข้อมูล 7 ปัจจัยมาดำเนินงานประชาสัมพันธ์โดยยึดหลักการกระบวนการประชาสัมพันธ์ของ จอร์น อี มาร์สตัน สูตร R A C E กระบวนการที่ 1 การวิจัยหรือการศึกษารวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับดำเนินงานประชาสัมพันธ์ (Research) กระบวนการที่ 2 การวางแผนและการกำหนดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ (Action) กระบวนการที่ 3 การสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ (Communication) กระบวนการที่ 4 การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation) 3. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบแนวทางการประชาสัมพันธ์เพื่อการตัดสินใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ พบว่า ในการร่วมสนทนากลุ่มซึ่งทุกคนเห็นว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กอบเกียรติ ยังเจริญ. (2563). การพัฒนาแนวทางประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความต้องการเลือกเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการอาชีพไชยา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
จำลอง สุริวงค์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกโรงเรียนเอกชนของผู้ปกครองนักเรียน จังหวัดพิจิตร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
จินดา ศรีญาณลักษณ์. (2561). วิเคราะห์องค์ประกอบของปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงาน ประชาสัมพันธ์ ในโรงเรียน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 13(2), 250-259.
จุฑามาศ ตันติรัตนโอภาส. (2548). การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา) สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 34 ก หน้า 13 (19 สิงหาคม 2542).
ระภีพรรณ ร้อยพิลา. (2553). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำในการประชาสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ. (2563). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา 2563. (พิมพ์ครั้ง ที่ 1). พัทลุง: โรงเรียนวีรนาทศึกษามูนิธิ.
สรินญา ชัยนุรัตน์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรเข้าเรียนในโรงเรียน สังกัดเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครินทร์.
Kenneth H. Smith. (2022). Perceptions of School Climate: Views of Teachers, Students, and Parents. Retrieved March 25, 2022, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1282606.pdf