ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรี 2) ศึกษาความสุขในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด จำนวน 320 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้ที่ตั้งของสถานศึกษาเป็นชั้นของการแบ่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีโดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.15 2) ความสุขในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.44 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีกับความสุขในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์คะแนนดิบ คือ = 1.225 + .776*X สมการพยากรณ์คะแนนมาตรฐาน คือ = .609* โดยสามารถพยากรณ์คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ได้ร้อยละ 37 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 38-48.
จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2555). การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: ครีเอทีฟคอมมอนส์.
ชวนชม ชินะตังกูร. (2560). ความสุขในการทำงานของบุคลากรการศึกษา สังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(2), 36-37.
ธนภร จันทร์สี และคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. ใน The national and International Graduate Research Conference 2016. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป: ทฤษฎี วิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับงานวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปาริชาติ ชูปฏิบัติ. (2554). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พรพนา พัวรักษา. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
เมธาพร ผังลักษณ์. (2559). ความสุขในการทำงานของครูอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีการวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุจิรา ฟูเจริญ และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีที่ประสบความสำเร็จในสถาบันอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารราชมงคลล้านนา, 5(2), 111-118.
โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2566). ภาวะหมดไฟในการทำงาน. เรียกใช้เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/burnout-syndrome
สกล พันธมาศ. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2), 44- 55.
สาธิต มณฑาณี. (2559). พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในทัศนะของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จันทบุรี ตราด. (2564). งานข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จันทบุรี ตราด. เรียกใช้เมื่อ 9 สิงหาคม 2564 จาก http://www.sesact.go.th
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุพรรณี มาตรโพธิ์. (2549). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุรกิจ สิอิ้น. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำ ผู้บริหารสตรีของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อะห์มัด ยี่สุ่นทรง. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.
Likert, R. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago: Rand Mc Nally.