การบริหารงานวิชาการกับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม 2) ศึกษาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม จำนวน 25 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม จำนวน 314 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่ และมอร์แกน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม จำนวน 24 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม จำนวน 173 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท มี 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม และตอนที่ 3 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) การบริหารงานวิชาการกับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม มีความสัมพันธ์กันในทางบวก หรือมีความสัมพันธ์คล้อยตามกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิการ์ สุวรรณศรี. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.scribd.com/document/402040928/%E0%B9%80% E0%B8%99%E0%B8%B7
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
กัลยารัตน์ นิยมสินธุ. (2565). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(3), 157-173.
กีรติ ฉิมพุฒ. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. Education Journal Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University, 5(2), 135-144.
ญาณิน ปะติตัง. (2565). บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(2), 46-60.
รัตนกร พรมวังขวา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สุธินี แซ่ซิน. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุพัตรา วรรณมะกอก. (2559). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษากรณีโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โรงเรียนป่าซาง จังหวัดลําพูน. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(2), 145-155.
อำนวย ทองโปร่ง. (2560). การพัฒนาคนในระบบการจัดการศึกษาไทย. Social Sciences Journal, 7(2), 1-16.
อุมาพร พิมพ์สุตะ. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 19-35.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 1970(30), 607-610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.