ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน

Main Article Content

วรัญญา จิตรบรรทัด
มิ่งขวัญ เกตุกำพล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลและผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาตัวจากโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าอยู่ในระยะท้ายให้ดูแลแบบประคับประคอง และญาติหรือแพทย์ให้กลับไปดูแลต่อที่บ้านในช่วงเดือนกรกฎาคม2563 ถึง สิงหาคม 2564มีค่าคะแนนตามแบบประเมินระดับความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ฉบับสวนดอก ตั้งแต่ร้อยละ 50ลงมาการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) เตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ดูแลที่บ้าน ประกอบด้วย 1) วิธีการประเมินผู้ป่วย2) การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแล 3) การฝึกทักษะการจัดการอาการไม่สุขสบาย 4) การให้การดูแลตามสภาพโรค 5) การประสานงาน และ 6) การประเมินผล 2) การดำเนินการเยี่ยมบ้านทุก 2 สัปดาห์ จำนวน 4 ครั้ง และ 3) ประเมินผลโดยใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองมีการวัดผลก่อนและหลังดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลัง ด้วยสถิติ Pair T testผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 35คนได้รับการดูแลตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย พบว่า ค่าเฉลี่ยของความรู้การดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จาก 7.74 (SD. 2.92) เป็น 15.49 (SD. 0.71) ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยลดลงจาก 23.69 (SD. 4.09) เป็น 5.74 (SD. 1.67) ซึ่งดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value <0.000) ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติอยู่ในระดับมากที่สุดที่ 46.72 (SD. 1.85) และความทุกข์ทรมานจากอาการลดลงในทุกอาการดังนั้นสรุปได้ว่าการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนทำให้การดูแลแบบประคับประคองดีขึ้น

Article Details

How to Cite
จิตรบรรทัด ว. ., & เกตุกำพล ม. (2022). ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(12), 155–170. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/265681
บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กิตติกร นิลมานัต และคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมการพยาบาลจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายต่อความทุกข์ทรมานจากอาการและการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยระยะท้าย. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 51-66.

จอนผะจง เพ็งจาด. (2557). บทบาทพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(1), 100-107.

ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์. (2560). ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านเครือข่ายสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 13(1), 25-36.

ชุติกาญจน์ หฤทัย และคณะ. (2559). ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. ประทุมธานี: สำนักพิมพ์สื่อตะวันจำกัด.

ธีรพร สถิรอังกูร และคณะ. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล : Service Plan. ประทุมธานี: สำนักพิมพ์สื่อตะวันจำกัด.

นุชจรินทร์ ไชยสัจ. (2561). ผลของการเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลต่อการปรับตัวในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(3), 45-54.

ปิยาวรรณ โภคพลากร. (2560). รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในประเทศไทย. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 26(3), 40-51.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. (2553). เกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สันต์ หัตถีรัตน์. (2559). วาระสุดท้ายที่งดงาม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน จำกัด.

สุรีพร ศิริยะพันธุ์ และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองสำหรับผู้ปาวยโรคไตเรื้อรังที่ ไม่ได้บำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลยะลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 1-15.