การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่มีผลต่อทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล ของนักศึกษาครุศาสตร์

Main Article Content

ธณัฐชา รัตนพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผ่านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่มีผลต่อทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักศึกษาครุศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผ่านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่มีผลต่อทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักศึกษาครุศาสตร์ 3) เพื่อประเมินทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผ่านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่มีผลต่อทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักศึกษาครุศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผ่านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่มีผลต่อทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักศึกษาครุศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่เรียนรายวิชาการจัดทำฐานข้อมูลทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2564 จำนวน 30 คน เครื่องมือ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 3) แบบวัดทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมติฐาน โดย t-test Dependent ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบมีความเหมาะสมของรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและผลการประสิทธิภาพรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.22/82.23 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกวริฐา รองพล. (2565). การพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบ การผลิต และการประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(1), 1-14.

ณัชชา ปกิจเฟื่องฟู และประกอบ กรณีกิจ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การคิดเป็นฐานด้วยสื่อเครือข่ายสังคม เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), 1-13.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2561). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในยุคการเรียนรู้ 4.0. เชียงใหม่: ตองสามดีไซน์.

นันทวรรณ กล่อมดี, ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ และคณะ. (2565). การใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง รอบรู้เรื่องมะพร้าว ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(2), 77-91.

พลพิพัฒน์ สุขพัฒน์ธี และเกียรติศักดิ์ แสงอรุณ. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้คาบการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้อย่างสร้างสรรค์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 211-224.

พีรวิชญ์ คำเจริญ และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). การรู้เท่าทันดิจิทัล: วิวัฒนาการ ความหมาย และการสังเคราะห์ทักษะ. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 1(2), 72-81.

ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์ และวัลลภา อยู่ทอง. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. ใน หน่วยศึกษานิเทศก์. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วีนา คงพิษ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียนตามการเรียนรู้แบบ VARK. ใน ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อโรชา ทองลาว, พัลลภ สุวรรณฤกษ์ และคณะ. (2563). การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2563. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 617-63.

Iftakhar, S. (2016). GOOGLE CLASSROOM: WHAT WORKS AND HOW ? Education and Social Sciences, 3(2), 12-18.

Joyce, B. & Well, M. (1996). Models of teaching (5th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Thomas, J. W. (2000). A REVIEW OF RESEARCH ON PROJECT-BASED LEARNING. San Rafael, CA: Autodesk Foundation.