ศึกษาวิเคราะห์สัญญะที่ปรากฏในการแสดงหนังตะลุงของหนัง นครินทร์ ชาทอง

Main Article Content

พระครูโอภาสวุฒิคุณ .
พระครูโกศลอรรถกิจ .
อุทัย เอกสะพัง

บทคัดย่อ

           บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของหนังตะลุงหนังนครินทร์ ชาทอง เพื่อศึกษาสัญญะที่ใช้ในการแสดงหนังตะลุงของหนังนครินทร์ ชาทอง และเพื่อวิเคราะห์ความหมายของสัญญะและหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการแสดงหนังตะลุงของหนังนครินทร์ ชาทอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกต และการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า  1) หนังนครินทร์ ชาทอง เป็นศิลปินพื้นบ้านด้านการแสดงหนังตะลุง มีความสามารถในการประพันธ์วรรณกรรม เชิดรูปหนังตะลุงได้ทุกลีลา ให้เสียงพากย์ภาษากลางและภาษาถิ่นใต้ได้ 20 เสียง ชุบชีวิตสร้างจิตวิญญาณนายโถจนเป็นอัตลักษณ์ประจำตัว การแสดงหนังตะลุงเพื่อให้ความบันเทิง ข้อมูลข่าวสาร ปรัชญาชีวิต ข้อคิด และคติธรรม อนุรักษ์หนังตะลุงแบบเก่า อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาสังคมชายแดนใต้ จนได้รับรางวัลและการยกย่องเกียรติคุณมากมาย 2) หนังนครินทร์ ชาทอง ใช้สัญญะอย่างผสมผสานและซับซ้อนในแสดงหนังตะลุง 2 ประเภท คือ สัญญะที่เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ โรงหนัง จอหนัง  เครื่องดนตรี ลูกคณะ การไหว้ครู การเบิกโรงหนัง และรูปหนัง และสัญญะที่เป็นวรรณกรรม ได้แก่ วรรณกรรมเรื่องก่อนตะวันจะลับฟ้า สายธารแห่งความรัก รักทรมาน เทพบุตรเดินดิน และมหาชนก 3) ความหมายของสัญญะมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก ความหมายระดับ  ผิวเผิน ผู้ชมหนังตะลุงจะเข้าใจความหมายที่นายหนังใช้เสียงผ่านสื่อต่าง ๆ ทันที และลักษณะ ที่สอง ความหมายระดับลึก ซึ่งจะต้องผ่านการวิเคราะห์จึงจะเข้าใจความหมายนั้น สัญญะที่เป็นองค์ประกอบแฝงไว้ด้วยหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา และสัญญะที่เป็นวรรณกรรมได้สอดแทรกหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาไว้ในลักษณะต่าง ๆ

Article Details

How to Cite
. พ., . พ., & เอกสะพัง . อ. . (2020). ศึกษาวิเคราะห์สัญญะที่ปรากฏในการแสดงหนังตะลุงของหนัง นครินทร์ ชาทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 146–157. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246247
บท
บทความวิจัย

References

เกษม ขนาบแก้ว. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านแถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุง. ใน รายงานการวิจัย. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูสงขลา.

เกษม ขนาบแก้ว. (2544). ภูมิปัญญาการสอนหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในบทหนังตะลุง ของหนังฉิ้น อรมุต: กรณีศึกษาเชิงวิเคราะห์. ใน รายงานการวิจัย. ฝ่ายวิจัยและเผยแพร่สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสงขลา.

บุษกร บิณฑสันต์. (2554). ดนตรีภาคใต้: ศิลปินการถ่ายทอดความรู้ พิธีกรรมและความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรวรรณ ดวงรัตน์. (2557). สัญญศาสตร์และความหมายที่แปรเปลี่ยน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28 (88), 1–14.

พระมหาอนุรักษ์ อภิรกฺโข (เจ้ยทอง). (2550). หนังตะลุงกับการเผยแผ่ธรรมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาหนังตะลุงคณะสุรเชษฏ์ บันเทิงศิลป์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย.

วรรณา ปูป็ง. (2546). ศึกษาวิถีชีวิตชาวนครศรีธรรมราชจากบทหนังตะลุง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์. (2553). นิเวศวัฒนธรรม: การเรียนรู้ความสมดุลระหว่างวิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณ. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สืบพงศ์ ธรรมชาติ และคณะ. (2559). การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในเนื้อเรื่องหนังตะลุงภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 3 (1), 72–86.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2551). มานุษยวิทยาศาสนา แนวคิดพื้นฐานและข้อถกเถียงทางทฤษฎี. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.