ศึกษาวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในสังคมพหุวัฒนธรรม ชุมชนคลองกวาง ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

Main Article Content

จันทร์รุ่ง เขียวบุญจันทร์
พระครูโกศลอรรถกิจ .
อุทัย เอกสะพัง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพบริบทชุมชน สังคม และวัฒนธรรมชุมชนคลองกวาง ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาปัจจัยการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรมชุมชนคลองกวาง ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และเพื่อศึกษาวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักธรรมสังคหวัตถุในสังคมพหุวัฒนธรรมชุมชนคลองกวาง ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักและวิธีวิเคราะห์ข้อมูล


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) ชุมชนคลองกวางเป็นชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีอายุประมาณ 200 ปี ชุมชนตั้งอยู่เขตชายแดนไทย – มาเลเซีย มีภูเขาสันกาลาคีรีกั้นระหว่างพรหมแดน วิถีชีวิตของคนในชุมชนคลองกวางผูกพันอยู่กับธรรมชาติ วิถีชีวิตสัมพันธ์กันในฐานะเป็นญาติพี่น้องกัน และวิถีชีวิตของคนผูกพันอยู่กับศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม 2) การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมชุมชนคลองกวาง โดยมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการอาศัยปัจจัยทางสังคม 8 ประการ คือ ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และการตั้งบ้านเรือน ด้านการศึกษา ด้านการประกอบอาชีพ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านชาติพันธุ์และญาติพี่น้อง ด้านการใช้สาธารณประโยชน์ร่วมกัน ด้านความเชื่อศาสนา ด้านประเพณีและพิธีกรรม และด้านการใช้เทคโนโลยี 3) ชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรมชุมชนคลองกวางได้นำหลักสังคหวัตถุไปปรับใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทชุมชน สังคม และวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันในชุมชนจึงต้องช่วยเหลือกันตามหลักสังคมสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ 4 คือ 1) การสงเคราะห์กันด้วยทาน 2) การสงเคราะห์กันด้วยปิยวาจา 3) การสงเคราะห์กันด้วยอัตถจริยา และ 4) การสงเคราะห์กันด้วยสมานัตตตา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไพศิษฎ์ พงศ์ทองเมือง. (2540). การประสมประสานทางวัฒนธรรมระหว่างชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายจีนในเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พระครูปลัดไพรัช จนฺทสโร และคณะ. (2558). การอยู่ร่วมกันของชุมชนชาวพุทธและมุสลิมในเขตพื้นที่อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระมหานพดล ปญฺญสุวฑฺฒโก. (2560). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุนทร ธมฺมวโร (บุญคง). (2561). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกวาง. (2561). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา. สงขลา: สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลคลองกวาง.

อมรา พงศาพิชญ์. (2542). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.