ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระโนด

Main Article Content

ลักษณา หัสดินทร์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของป่วยผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระโนด กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 77 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power สุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน สัดส่วน ด้วยวิธีหยิบฉลากแบบไม่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระโนด แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งหมด จำนวน 88 ข้อ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และหาความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบราค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.945 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบทีละตอน (Stepwise)


          ผลการวิจัยพบว่า: พฤติกรรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระโนดในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.01, S.D. = 0.28866) สำหรับการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ พบว่าปัจจัยการรับรู้ความสามารถตนเอง (Beta = .605) สามารถทำนายพฤติกรรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระโนดได้ร้อยละ 36.60 (R2 = .366) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้น พยาบาลที่อยู่ในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุในคลินิก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีกิจกรรมเสริมพลังเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงรับรู้ความสามารถของตนเองที่จะก่อให้เกิดความเชื่อมั่น ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองควบคุมความดันโลหิตสูงที่เหมาะสมตามมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ แก้ววันดี และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยวง อำเภอเวียง หนองล่องจังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จินตนา นุ่นยะพรึก. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลระโนด จังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนพรรษ บุญเจริญ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาในทหารที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29,(3) 50-64.

ธมนวรรณ สุวรรณโฮม. (2555). การศึกษาวิถีผู้สูงอายุในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิพพาภัทร์ สินทรัพย์ และคณะ. (2560). โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ: เพชฌฆาตเงียบที่ควรตระหนัก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 100-111.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2554). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ยูเนี่ยนครีเอชั่น.

ภัสราวลัย ศีติสาร และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 9(2), 120-136.

วัลนา ทองเคียน และคณะ. (2553). ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก สถาบันโรคทรวงอก. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันโรคทรวงอก.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2560). ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดสงขลา. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2562 จาก http://chronic.skho.moph.go.th /chronic/report_main.php

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย 2554 – 2563. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักวิชาการ สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร์. (2561). Academic Focus. สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. เรียกใช้เมื่อ 21 กรกฏาคม 2562 จาก http://library2. parliament. go.th/ejournal/content_af /2561/jul2561 – 1.pdf

สุภาพร พูลเพิ่ม. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 5(2), 49-54.

สุรางค์ เปรมเสถียร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มารับบริการที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

หทัยกานต์ ห้องกระจก. (2559). อิทธิพลของความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ . มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bandura, A. (1977). Guide for constructing self – efficacy scales. Unpublished Manuscript , Stamford University.

Hair, F. J. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7 th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Pender, N. J. (1996). Health Promotion in Nursing Practice. (2ed). New Jersey: Prentice Hall.