แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำเรียนร่วมโดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบ

Main Article Content

จุฑาภรณ์ ธนกวีศิลป์
วจี ปัญญาใส
สุมิตา โรจนนิติ

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา แนวทาง และประเมินความเป็นไปได้ของการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำเรียนร่วมโดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบ ประชากรได้แก่โรงเรียนเรียนร่วมสังกัดสำนักงานประถมศึกษาน่านจำนวน 71 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่โรงเรียนจัดการเรียนร่วมจำนวน 10 โรงเรียน ได้มาโดยการเลือกมาแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ ครูผู้สอนโรงเรียนแกนนำเรียนร่วม จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนเรียนร่วม แบบสอบถามแบบสอบถามแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำเรียนร่วมโดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแบบประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำเรียนร่วมโดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า: สภาพปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมได้แก่ การเตรียมแผนพัฒนาทักษะทางสังคม การประเมินผลตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระบบเปลี่ยนผ่านของโรงเรียนและการสอบถามความพึงพอใจและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความก้าวหน้าของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ส่วนแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำเรียนร่วมโดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบ มีค่าเฉลี่ย ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยด้านสังคมแห่งการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.06) ด้านการบริหารจัดการเรียนร่วมและด้านคุณภาพผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ (gif.latex?\bar{x} = 4.05) และด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.04) ส่วนผลการประเมินความเป็นไปได้ของแนวการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.65)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ชุดโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ธัญญ์นลิน กิติวัฒณ์กนกโชติ. (2559). การบริหารจัดการตามมาตรฐานการเรียนร่วม ของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

นงลักษณ์ มีศิลป์. (2548). สภาพและปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาพิเศษ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

นพมาศ สุทธิวิรัช. (2551). การบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีทในโรงเรียนแกนนำ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิสา สุผากอง. (2553). การบริหารงานโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในจังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เนตรทิพย์ เจริญวัย. (2557). การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาสู่มาตรฐานเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(3), 636-648.

บพิตร โสมณวัฒน์. (2548). การพัฒนาบุคลกรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งนางโอก (อ่อนอำนวยศิลป์) . ในรายงานการวิจัย. อำเภอเมือง จังหวังหวัดยโสธร.

เบญจา ชลธาร์นนท์. (2549). คู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 123 ก (19 ธันวาคม 2545).

พัชริดา นิลสุข. (2558). การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รจเรข พยอมแย้ม. (2553). การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการในโรงเรียนปกติ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สกุณา นันทะชัย. (2552). การจัดการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาพิเศษของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 2. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2554). การเตรียมความพร้อมการจัดการเยนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร.

สุรศักดิ์ เรือนงาม. (2555). การบริหารการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำสังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.