แนวทางการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

Main Article Content

ปฏิญญา ศรีสุข
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพพึงประสงค์ของการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง 282 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน เป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสอดคล้อง


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพปัจจุบันการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.84) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.76) 2) แนวทางการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การบริหารงานบุคคลโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้านการบริหารงานงบประมาณโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และด้านการบริหารงานทั่วไปโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน องค์ประกอบหลักมี 5 ด้าน ได้แก่ การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม การคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน การบริหารตนเอง การตรวจสอบและโปร่งใส มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.56) ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.20) โดยสถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนสอดคล้อง กับความต้องการของผู้เรียน ผู้บริหารและครู พัฒนาตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้และร่วมสนับสนุนงบประมาณ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โยธิน สิงห์คำ. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โศภิษฐ์ศักดิ์ เดชะสิทธิ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คณิตตรา เจริญพร. (2555). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ชนิดาภรณ์ อุ่นจรัส. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทัดตะวัน นามจุมจัง. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีระ รุญเจริญ และคณะ. (2545). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา (Basic Research in Education). (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ทวีพริ้นท์ จำกัด.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). หลักการบริหารแบบฐานโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: พระรามสี่การพิมพ์.

Wilson, R. J. (2001). School – Based Management in Alberta: Perceptions of Public School Leaders 1994 – 1997. Dissertation Abstracts International, 62(3), A–337.