ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิตระหว่างการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกใน รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1

Main Article Content

จันทิมา ช่วยชุม
อรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง
ยุพิน หมื่นทิพย์
นันท์ณภัส สารมาศ
มนันชญา จิตตรัตน์

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตระหว่างการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก สิ่งแวดล้อมในแหล่งฝึก และอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติแบบประเมินความเครียด ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค ได้เท่ากับ .84, .74, .82, และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบเชิงชั้น


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) ร้อยละ 56.26 นักศึกษาพยาบาลพยาบาลศาสตรบัณฑิตมีความเครียดอยู่ในระดับมากขึ้นไประหว่างการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 2) อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ และความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในแหล่งฝึก อยู่ในระดับปานกลาง ตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตระหว่างการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งฝึกประเด็นด้านผู้ป่วย และปัจจัยอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติประเด็นด้านการมอบหมายงานของอาจารย์ โดยสามารถร่วมกันทำนายการเกิดความเครียดได้ร้อยละ 17.3 (R2 = .173)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตพัทธ์ ฝึกฝน และคณะ. (2561). ความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการขึ้นฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลครั้งแรกบนหอผู้ป่วย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 19(1), 161-168.

ชุทิมา อนันตชัย และคณะ. (2554). การศึกษาสาเหตุ ระดับความเครียดและการเผชิญความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, (กุมภาพันธ์-มิถุนายน), 15-22.

ชุลีพรวรรณ กษมานนท์ และคณะ. (2555). การลดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 33 ในการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์ 1 แผนกห้องคลอดโดยเพื่อนช่วยเพื่อน. ใน รายงานวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี.

ธนพล บรรดาศักดิ์ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาลระหว่างฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยหนัก. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(1), 6-16.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความเครียดและการจัดการความเครียดขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลกองทัพบก, 15(2), 270-279.

. (2558). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 7-16.

ลัดดาวัลย์ แดงเถิน. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ ระหว่างฝึกปฏิบัติงาน. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วไลลักษณ์ พุ่มพวง. (2559). ความเครียดในการศึกษาทางการพยาบาล: เทคนิคผ่อนคลายสำหรับร่างกายและจิตใจ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(2), 5-15.

วิไลพร ขำวงษ์ และคณะ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับสาเหตุของความเครียด และการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์, 10(1), 78-87.

ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์. (2553). การรับรู้ระดับความเครียดและต้นเหตุความเครียดของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(ฉบับเพิ่มเติม), 47-59.

สุจิตรา กฤติยาวรรณ. (2561). ความเครียดและการเผชิญความเครียดในการฝึกปฏิบัติรายวิชาการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก, 1309-1318.

Khater, W.A. et al. (2014). Sources of stress and coping behaviours in clinical practice among Baccalaureate nursing students. International Journal of Humanities and Social Sciences, 4(6), 194-202.

Kurebayashi et al. (2012). Correlations between stress and anxiety levels in nursing students. Journal of Nursing Educational and Practice, 2(3), 128-134.

Pulido-Martos, M. et al. (2011). Sources of stress in nursing students: a systematic review of quantitative studies. International Nursing Review, 5(9), 15-25.

Sharma, N. & Kaur, A. (2011). Factors associated with stress among nursing students. Nursing and Midwifery Research Journal, 7(1), 12-21.