การพัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในรายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

ศิริวรรณ สีทา
อุฤทธิ์ เจริญอินทร์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในรายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้ผ่านเกณฑ์ระดับกลางตามกรอบการประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของ PISA 2015 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนจำนวน 6 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้การวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องเสียง จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ และ 3) แบบประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียน มีลักษณะเป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเสียงในรายวิชาฟิสิกส์และประกอบด้วยข้อคำถาม 12 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก การพัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในรายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนี้ได้ทำตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart แบ่งออกเป็น 3 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การลงมือปฏิบัติการตามแผน การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ โดยผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยทำการสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนในระหว่างการจัดการเรียนรู้และให้นักเรียนทำแบบประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือหลังการจัดการเรียนรู้แต่ละวงรอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ


          ผลการวิจัยพบว่า: หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 6 คน มีการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออยู่ในระดับกลางจำนวน 5 คน และการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออยู่ในระดับสูงจำนวน 1 คน แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสามารถพัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกรินทร์ อัชชะกุลวิสุทธิ์. (2557). การประเมินด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของ PISA 2015. สสวท, 43(191), 37-41.

โครงการ PISA ประเทศไทย. (2561). การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ: PISA วัดอย่างไร. Focus ประเด็นจาก PISA, 3(25), 1-4.

จรูญพงษ์ ชลสินธุ์ และคณะ. (2561). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เป็นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 32-46.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬางกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจงจิตร นาบุญมี และคณะ. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่องการเคลื่อนที่แบบหมุนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 193-205.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2560). กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนโครงการ PISA 2015. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุจินต์ วิศวธีรานนท์. (2547). ประมวลบทความทางการศึกษา การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในทศวรรษหน้า. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Fadel, C. & Trilling, B. (2009). 21st Century Skills. San Francisco: Josseypass.

Gallagher , S. A. (1997). Problem - Based Learning: Where did it come From, What Does it Do, and Where is it Going? journal for the education of the gifted, 20(4), 332-358.

Krejeie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

OECD. (2013). PISA 2015 draft collaborative problem - solving framework. Paris: OECD.