การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมในการฝึกอาชีพ แผนกวิชาช่างยนต์ระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ไมตรี ภูหัดการ
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการมีส่วนร่วม 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วม ในการฝึกอาชีพแผนกวิชาช่างยนต์ระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 392 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพปัจจุบัน การมีส่วนร่วมในการฝึกอาชีพแผนกวิชาช่างยนต์ระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.62) และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.55) โดยมีดัชนีความต้องการจำเป็นมากสุด ตามลำดับ ดังนี้การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในขั้นวางแผนการมีส่วนร่วมปฏิบัติการ และการมีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา 2) แนวทางการมีส่วนร่วมในการฝึกอาชีพแผนกวิชาช่างยนต์ระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.14) และมีความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.59) ประเด็นสำคัญของแนวทางการพัฒนา คือ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้นักเรียนนักศึกษาก่อนไปฝึกอาชีพ การร่วมกันออกระเบียบในการปฏิบัติตนในช่วงฝึกอาชีพ การร่วมกันกำหนดองค์ประกอบในการประเมินผลการฝึกอาชีพ การร่วมกันประเมินจากพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร การนิเทศการฝึกอาชีพร่วมกัน การรับรู้และแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาร่วมกัน การร่วมกันออกแบบการวัดประเมินผลการฝึกอาชีพ และการปลูกจิตสำนึกในการรักษาชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ของสถาบันในการฝึกอาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2547). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพ้อยท์.

กาญจน์ เรืองมนตรี และคณะ. (2554). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.). กรุงเทพมหานคร: ข่าวฟ้าง.

ธีรวุฒิ บุณยโสภณ. (2536). การบริหารอาชีวและเทคนิคศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประทีป พรมทอง. (2534). การใช้สถานฝึกงานอาชีพนอกสถานศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมในเขตการศึกษา 8. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัชราวลัย วงศ์บุญสิน และคณะ. (2550). การวิจัยเปรียบเทียบการปฏิรูปการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พัฒนา ศรีชาลี. (2556). ความต้องการของสถานประกอบการต่อคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกวิชาชีพกลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 3(5), 46-52.

ลำดวน ฟ้องเสียง. (2560). ผลการฝึกประสบการณ์และความต้องการของสถานประกอบการในการรับนักศึกษาจากสถาบันการอาชีวศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติงาน. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิรัช กุมุทมาศ. (2528). การศึกษารูปแบบและวิธีการจัดส่งนักศึกษาสาขาช่างอุตสาหกรรมออกไปฝึกงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมของสถาบันอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2535). การจัดการปฏิบัติงานให้นักศึกษามีความสามารถในการทำงานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุขวสา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2561). การพัฒนาระบบนิเทศฝึกงานออนไลน์นักศึกษาประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารง มะเซ็ง และคณะ. (2555). คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาก่อสร้างตามความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(3), 54-66.

Cecile, R.J. (2009). Participatory Program Planning in An Adult Literacy Organization Case Study of A Diversity Education Group. Journal of Gynecologic Surgery, 14(2), 95-99.

Cohen, J. M. & Norman T. U. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D. Irwin Inc.

Mohrman, S. A. & Wohlstetter, P. (1994). School - Based Management: Organizing for High Performance. San Francisco: Jossy - Bass Publishers.

Prosser, C.A & Allen, C.R.. (1925). Vocational Education in a Democracy. New York: Century.