การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

Main Article Content

วรรณฤดี เหล่าสมบัติ
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 2) พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอน จำนวน 308 คน งานวิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน โดยมีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสนทนากลุ่มและประเมินโปรแกรม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า: การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเตรียมความพร้อม และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหา โดยขั้นตอนของโปรแกรมพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) เตรียมการ 2) พัฒนา 3) บูรณาการระหว่างปฏิบัติงาน และ 4) ประเมินผล หลังพัฒนาโปรแกรมฯ ได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลปรากฏว่า มีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เพ็ญพิชชา มั่นคง. (2554). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลการเรียนรู้เรื่องพลเมืองดีของสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์. (2537). การพัฒนารูปแบบพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครู. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2556). การปรับตัวของประเทศไทยในยุคโลกาภิวัตน์เอเชียรุงโรจน์และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 38(2), 23-46.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2550). การพัฒนาทักษะการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(3), 22-25.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

อรัญญา โสมนัส. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพมาตรฐานด้านผู้เรียน การคิดวิเคราะห์และวิจารณญาณของสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินจากภายนอกรอบที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Krejeie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.