ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาทางสังคมของเยาวชนกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง ในเขตพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

พระสมุห์ธนภัทร ธนภทฺโท (ทิพย์วงษ์)
พระครูวุฒิสาครธรรม (สาคร นุ่นกลับ)
สมบูรณ์ บุญฤทธิ์
ลัญจกร นิลกาญจน์

บทคัดย่อ

            บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทางสังคมของเยาวชนกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง ในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 2) เพื่อศึกษาสาเหตุปัญหาทางสังคมของเยาวชนกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยงในเขตพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสังคมของเยาวชนกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยงในเขตพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และ 4) เพื่อค้นหารูปแบบการแก้ไขปัญหาทางสังคมของเยาวชนกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยงในเขตพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 52 คน และการเสวนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 รูป/คน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มบุคลากร ทางการศึกษา กลุ่มเยาวชน และกลุ่มคณะกรรมการสภาเด็กและเยาวชนอำเภอป่าพะยอม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างการบันทึกภาพและการบันทึกเสียง


            ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพปัญหาทางสังคมของเยาวชนกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยงในเขตพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันอันสืบเนื่องมาจากปัญหายาเสพติดส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาทั้งชายและหญิงและเป็นปัญหาที่เติบโตในยุคของสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถติดต่อสื่อสารสะดวกขึ้นโดยที่ผู้ปกครองตามไม่ทันพฤติกรรมของบุตรหลาน 2) สาเหตุปัญหาทางสังคมของเยาวชนกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยงในเขตพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เกิดจากครอบครัวที่ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควรจนทำให้ขาดความรักความอบอุ่น เช่น ผู้ปกครองเข้าข้างบุตรหลานของตนเองและยุยงปลูกฝังค่านิยมไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ผู้ปกครองเลี้ยงดูแบบตามใจและ การใช้สื่อออนไลน์ไปที่ขาดการควบคุมจากผู้ปกครองทำให้ขาดที่ปรึกษาที่ดีเมื่อเกิดพบเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). แผนกลยุทธ์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร: กราฟิก ซันเด.

จรัญ พรหมอยู่. (2541). การศึกษาปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ญาณิศชา สงค์อยู่. (2559). สาเหตุและพฤติกรรมการกระทําผิดของเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษาสาเหตุและพฤติกรรมการกระทําผิดของเด็กสก๊อย. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ดาบตำรวจณรงค์ สุขแช่ม. (2553). การศึกษาปัญหาอาชญากรรมของเด็กและเยาชนในจังหวัดพิจิตรกรณีศึกษา: สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดพิจิตร. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปรเมษฐ์ ศรีประเทศ. (2556). บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนการป้องกันปัญหายาเสพติดกรณีศึกษา ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประทวน วันนิจ. (2558). แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชนก่อนวัยอันควรเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนในเขตพื้นที่ห้วยจรเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 10(1), 78.

ร้อยตำรวจโท กฤษฎา นาคประสิทธิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ร้อยตำรวจโททวิช เติมมี. (2557). การศึกษาแรงจูงใจในการเสพยาเสพติดของเยาวชนในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการภาครัฐ. มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

สถานีตำรวจภูธรอำเภอป่าพะยอม. (2561). สมุดการดำเนินคดีอาญาทั่วไป ปี 2561 เล่มที่ 1 – เล่มที่ 6 (เอกสารอัดสำเนา). พัทลุง: สถานีตำรวจภูธรอำเภอป่าพะยอม.

สมร บรรยงค์ และ ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ. (2555). การจัดระเบียบสังคมด้านพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนตำบลทองหลาง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 7(2), 80.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). พฤติกรรมเสี่ยงเยาวชน ในและนอกสถานศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 3 ธันวาคม 2561 จาก http://www.thaihealth.or.th/
Content/34315

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง. (2561). สถานการณ์ด้านการคุ้มครองเด็กจังหวัดพัทลุง ปี 2561 (เอกสารอัดสำเนา). พัทลุง: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. (2563). เอกสารการประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ระดับท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2563 (เอกสารอัดสำเนา). พัทลุง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง.

อรุณลักษณ์ รุจิระชุณห์. (2548). องค์ประกอบที่สัมพันธ์และแนวทางแก้ไขการกระทำความผิดทางเพศของเด็กและเยาวชนในจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.