การประยุกต์ใช้หลักคำสอนเรื่องมรณสติในชีวิตประจำวัน

Main Article Content

นลินี คณะนา
พระครูโสภณรัตนบัณฑิต .
พระครูวิจิตรศีลาจาร .
สวัสดิ์ อโณทัย

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องมรณสติในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาตัวอย่างของบุคคลที่ใช้มรณสติในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักคำสอนเรื่องมรณสติในชีวิตประจำวัน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำเนื้อหามาวิเคราะห์ตามขอบเขตของการวิจัยที่ได้กำหนดไว้


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) มรณสติ หมายถึง การระลึกถึงความตายอันจะมีมาถึงตนเป็นธรรมดา ต้องมีโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยสติ สังเวช และญาณ หลักคำสอนของมรณสติมุ่งกระตุ้นเตือนให้ไม่ประมาท ใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้เป็นประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อให้วาระสุดท้ายของชีวิตสามารถประคองจิตให้ผ่องใส มีสติ และสงบ 2) บุคคลที่ไม่ได้เจริญมรณสติเมื่อต้องพบกับความสูญเสีย ย่อมเศร้าโศกและกลัวความตาย ส่วนบุคคลที่เจริญมรณสติ ย่อมใช้ความตายเป็นเครื่องพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงขึ้น ไม่ประมาทในชีวิต ประกอบแต่กรรมดี เมื่อนิมิต 3 ประการปรากฏ ผู้ที่มีจิตผ่องใสย่อมไปสู่สุคติ ผู้ที่มีจิตเศร้าหมองย่อมไปสู่ทุคติ ผู้ที่เจริญมรณสติแม้ไม่ได้บรรลุธรรมในปัจจุบัน ก็จะปัจจัยให้บรรลุมรรคผลและนิพพานในอนาคตเบื้องหน้าต่อไป 3) การประยุกต์ใช้หลักคำสอนเรื่องมรณสติในชีวิตประจำวันโดยหยึดหลักภาวนา 4 เพื่อเป็นแนวทางพัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิต และพัฒนาปัญญา คุณค่าของการเจริญมรณสติในปัจจุบัน สามารถยึดตามหลักประโยชน์ 3 คือ 3.1) ประโยชน์ตน คือ ไม่ประมาทในชีวิต ตั้งจิตสร้างความดี สั่งสมบุญบารมีเพื่อตายอย่างสงบ พานพบพระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้า 3.2) ประโยชน์ผู้อื่น คือ สามารถช่วยเหลือบุคคลใกล้ตาย สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นและเป็นกัลยาณมิตร 3.3) ประโยชน์ทั้งสอง หรือประโยชน์ต่อสังคม คือ การทำหน้าที่ของตนได้สมบูรณ์ สังคมสันติสุขเพราะไม่เบียดเบียน และควรค่าแห่งการจดจำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรจบ บรรณรุจิ. (2549). ปฏิจจสมุปบาท. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระธรรมธีราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิเถร). (2542). หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). คู่มือชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

. (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ. (2548). คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส จำกัด.

พระไพศาล วิสาโล. (2560). ระลึกถึงความตายสบายนัก การเจริญมรณสติในชีวิตประจำวัน. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามลดา.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุรเตโช). (2561). ธรรมสารเทศนา เล่ม 3. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

พระอุปติสสเถระ. (2560). วิมุติมรรค. แปลโดย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน). (2551). อนุสสติและสติปัฏฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.