พุทธปรัชญาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

Main Article Content

พระครูโสภณรัตนบัณฑิต .
พระครูวุฒิสาครธรรม .

บทคัดย่อ

การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธปรัชญา มีความมุ่งหมายเพื่อผู้ฝึกฝนพัฒนา ให้ได้รับ ประโยชน์สุขตั้งแต่ขั้นต้น โดยการลงมือปฏิบัติ รู้จักหลักการปฏิบัติตนที่ดีต่อสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งเรียกว่า ความสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย คือ การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เพื่อจะได้ใช้เป็นพื้นฐาน ของศีล คือ เจตนางดเว้นจากความชั่วทางกาย และ เจตนางดเว้นจากความชั่วทางวาจา เรียกว่า การพัฒนาด้านพฤติกรรมที่ดี อันเป็นหนทางที่พัฒนาให้จิตใจ มีความคิดที่ดี และช่วยให้เกิดปัญญา ที่เจริญงอกงามเพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่ไม่เบียดเบียนแต่เป็นพฤติกรรมที่สร้างสรรค์เกื้อกูล ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ผลจากการพัฒนาตามพุทธปรัชญาก็เพื่อจะได้พัฒนากาย วาจา และจิตใจ ส่งผลให้มีความสามารถในการคิด ตัดสินใจแก้ปัญหาและปรับตัว ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในหลักพุทธธรรม ได้กล่าวถึงการเป็นผู้มีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง และมีอายุยืน คือ ผู้ให้โภชนะโดยเคารพตามกาล เวลาอันสมควรแก่ผู้สำรวม บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้ ชื่อว่าเพิ่มให้ฐานะ 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ การมีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพจิตดี จะเห็นได้ว่าสุขภาพนั้นไม่ได้มีเพียงทางกายและทางจิตใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับตัวเข้าสู่สังคมได้อย่างมีความสุข ควรจะรักษาสุขภาพของเราให้ดีอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้มีจิตใจที่มีความสุข รื่นเริง มีเมตตา มีสติ มีสมาธิ คุณภาพชีวิตที่ดีต้องมีสุขภาวะทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ภูมิปัญญา อายุ ความดำรงอยู่ ความดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความเป็นไป ความรักษา ความเป็นอยู่ เปิดโอกาสให้ได้ใช้ทักษะต่าง ๆ รวมถึงการแสดงบทบาทในสังคม ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธปรัชญา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เดชา บุญมาสุข. (2558). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). พุทธปรัชญา: มิติการมองโลกและชีวิตตามความจริง. กรุงเทพมหานคร: คอมเมอร์เชียลเวิลด์มีเดีย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2549). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระมหาภัคศิษฐ์ มหาวิรีโย และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 4(1), 42-54.

พระสิทธิเดช สีลเตโช. (2561). การพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนางาน ตามแนววิถีพุทธ. เรียกใช้เมื่อ 9 เมษายน 2563 จาก http://www.phd.mbu.ac.th

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2506). พระไตรปิฎกภาษาบาลี. กรุงเทพมานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สนิท ศรีสำแดง. (2544). ปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุนทร ณ รังษี. (2550). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.