ปรัชญากุญแจเก้าดอกกับการพัฒนามนุษย์ ของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาล

Main Article Content

ชณภา ปุญณนันท์

บทคัดย่อ

ปรัชญากุญแจเก้าดอกเป็นปรัชญาที่ผ่านกระบวนการและขั้นตอนการแสวงหาความจริงจากผู้ที่เป็นทุกข์ทางใจ มนุษย์ทางสังคมมีความต้องการพื้นฐานที่ต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือแนวทางในการตอบสนองความต้องการนั้นจะมีวิธีการอย่างไร ปรัชญากุญแจเก้าดอกเป็นปรัชญาที่สาสามารถนำมาใช้กับมนุษย์ที่ต้องการมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เพราะผ่านการแสวงหาและค้นพบความจริงจากความทุกข์ทางใจของมนุษย์ ดังนั้นกุญแจแต่ละดอกจะใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน แต่ละสถานการณ์อาจจะใช้ปรัชญากุญแจเก้าดอกหลายข้อ แต่ผลลัพธ์สูงสุดของปรัชญาคือ “การพัฒนามนุษย์ให้มีความสมบูรณ์แบบ” เป็นการพัฒนาจิตและเจริญปัญญา รวมไปถึงเป็นการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพความเป็นผู้นำ มีความเมตตาต่อมนุษย์ด้วยกัน และเป็นการฝึกพัฒนาตนด้วยตนเอง เพราะปรัชญากุญแจเก้าดอกผู้อื่นจะไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะมนุษย์เป็นผู้ที่รู้เท่าทันจิตตนเองมากกว่าผู้อื่น ดังนั้นปรัชญากุญแจเก้าดอกจึงเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ช่วยเหลือและปลดทุกข์ทางใจ เพื่อไม่สร้างปัญหาให้กับสังคมและประเทศชาติ และเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐในแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ที่เน้นการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤตพล ไชยผล. (2562). ทำไมวัยรุ่นไทยจึงไม่ชอบเข้าวัดทำบุญ. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2563 จาก https://sites.google.com/site/tongniyomthai/thami-way-run-thiy-mi-khea-wad-tha

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ธรรมสภา.

พระมหาถาวร ถาวรเมธี และคณะ. (2558). แนวคิดการพัฒนามนุษย์ในพระพุทธศาสนา จากคัมภีร์ทีหนิกาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 43.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2540). ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยาม.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2560). ปรัชญา ศาสนา เทววิทยาและวิทยาศาสตร์. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 11.

สถิต วงศ์สวรรค์. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิทยา.

อเนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). ปรัชญาจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: อำนวยการพิมพ์.

Florida state university. (2562). What is philosophy. Retrieved April 2, 2563, from https://philosophy.fsu.edu/undergraduate-study/why-philosophy/What-is-Philosophy