การจัดการตนเองของชุมชนในการจัดการป่าพรุคันธุลีตามหลักอริยสัจ

Main Article Content

วงษ์สิริ เรืองศรี
ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ
พงศ์เทพ แก้วเสถียร
ประวีณ จุลภักดี

บทคัดย่อ

              การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพลวัตของป่าพรุคันธุลี 2) เพื่อศึกษาการจัดการตนเองของชุมชนในการจัดการป่าพรุคันธุลี 3) เพื่อนำหลักอริยสัจมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดการตนเองของชุมชนในการจัดการป่าพรุคันธุลี และ 4) เพื่อศึกษารูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ในการจัดการป่าพรุคันธุลีตามหลักอริยสัจอย่างสมดุลและยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ แบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) หน่วยงานภาครัฐ 2) นักวิชาการ 3) ประชาชน/ปราชญ์ชุมชน และ 4) แกนนำนักอนุรักษ์ป่าพรุ ทั้งหมดจำนวน 10 ท่าน โดยศึกษาเชิงวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การบูรณาการและสร้างองค์ความรู้ใหม่


             ผลการวิจัยพบว่า


  1. พลวัตของป่าพรุคันธุลี คือ แบ่งเป็น 3 ยุค คือ 1) ยุคป่าอุดมสมบูรณ์ 2) ยุคเกิดภัยธรรมชาติ และ 3) ยุคเกษตรเชิงพาณิชย์ การใช้ประโยชน์ ได้แก่ การใช้ไม้ หาของป่า หาสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ เป็นต้น ลักษณะการใช้ประโยชน์ มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ ฐานทรัพยากรป่าพรุ และกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน และ 2) ปัจจัยภายนอกชุมชน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจากนโยบายของภาครัฐ และการเข้ามาขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ กลุ่มเครือข่ายที่เข้าถึงทรัพยากร มี 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ใช้ป่า 2) กลุ่มอนุรักษ์ป่า และ 3) กลุ่มบุกรุกป่า

  2. การจัดการตนเองของชุมชน คือ การใช้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ต่าง ๆ ในการปรับตัว และการสร้างจิตสำนึกร่วมกัน การจัดการป่าพรุ คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับป่าพรุ  2) กระบวนการจัดการป่าพรุ 3) ผู้นำทางภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชุมชน 4) สร้างเครือข่าย และ 5) การประสานสัมพันธ์

  3. การประยุกต์ใช้ คือ การนำหลักอริยสัจ 4 ดับทุกข์ในลักษณะของการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาเหตุและผลที่เกิดขึ้นและเหมาะสมกับวิธีการ คือ การรู้เท่าทันปัญหา 4 ด้าน คือ ผลการทำสิ่งที่ไม่ดีกับป่าพรุ (ทุกข์) ที่เป็นอดีตและปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าเกิดจากทำตามเหตุที่ไม่ดี (สมุทัย) จากอดีต ประโยชน์ที่ได้นำมาเป็นบทเรียน เพื่อการปรับเปลี่ยนปัจจุบันให้ดี (มรรค) ผลการทำดี (นิโรธ) คือ การอนุรักษ์ป่าพรุให้คงอยู่

      4. องค์ความรู้ใหม่ คือ นำระบบคุณค่ามาพัฒนาจิตใจ ปลูกฝังคุณธรรม ยึดมั่นหลักธรรมาภิบาลในการขับเคลื่อนชุมชนสู่ความ                ยั่งยืน เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยจิตสาธารณะ และพัฒนาชุมชนให้มั่นคง ยั่งยืน และมีเสถียรภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วงษ์สิริ เรืองศรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ตำเเหน่ง : อาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สาขาที่เชี่ยวชาญ : ปริญญาตรี  คหกรรมศาสตร์ สาขาผ้าและเครื่องแต่งกาย -อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย  (สิ่งทอเคมี)    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
                              ปริญญาโท  ศึกษาศาสตร์   สาขาวิชาเอกคหกรรมศาสตรศึกษา วิชารองจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                              ปริญญาเอก  ศึกษาศาสตร์  สาขาพัฒนศึกษา  มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประสบการณ์การทำงาน  
  2560- ปัจจุบัน  
      มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี   อาจารย์พิเศษ สาขาการพัฒนาชุมชน
      1. สอนวิชาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
      2. สอนวิชาสัมมนาปัญหาชุมชน                         
      3. สอนวิชาทักษะการสื่อสารในงานพัฒนา           
      4. สอนวิชาวิถีไทย                                                     
      5. สอนวิชาสวัสดิการชุมชน                                  
      6. สอนวิชาสังคมวิทยาชุมชนชนบทและชุมชนเมือง                                                                                                 
      7. สอนวิชามิติเศรษฐกิจและสังคม  (รัฐศาสตร์)
      8. สอนวิขาภาวะความเป็นผู้นำ
      9. สอนวิชาวิทยากรกระบวนการ

2556-2559 บริษัทอลิอันซ์ อยุธยา ผู้จัดการภาคอาวุโส 
       1. บริหารตัวแทนให้เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทและหน่วยงานทางด้านยอดขายและ  การบริการ
       2. ฝึกฝนและพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในระบบงานของบริษัทการขายและการบริการ
       3. สร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้แก่พนักงานในสังกัด เพื่อให้เกิดการทำงานในทิศทางเดียวกัน
       4. เสาะหาและคัดสรรบุคลากรที่มีความชำนาญหรือมีทัศนคติต่อองค์กรและหน่วยงานในทางที่ดี
       5. สร้างแผนการทำงานของพนักงานภายใต้สังกัด เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้        
       6. ฝึกอบรมโปรแกรมผู้นำต่างๆ  เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงาน       
2551-2555  โรงเรียนปราโมชวิทยา (ระดับมัธยมศึกษา) อาจารย์สอนและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  
       1. ครูประจำชั้นดูแลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  และ 6     
       2. การเขียนแผนการสอน  
       3. ดูแลด้านหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี         
       4. จัดทำสื่อการสอน      
       5. สอนวิชาการงานอาชีพ        
       6. หัวหน้าชมรมสิ่งประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์และเศรษฐกิจพอเพียง  
       7.  จัดทำโครงการเศรษฐกิจพอพียง        
       8.  จัดและตกแต่งสถานที่  การออกบู๊ท 

2550-2551  โรงเรียนฝึกพนักงานผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท    อาจารย์ฝ่ายวิชาการ และอาจารย์สอนวิชาสังคมและวัฒนธรรมไทย  
       1. วัดและประเมินผลนักศึกษา
       2. การเขียนแผนการสอน          
       3. ดูแลด้านหลักสูตรการเรียนการสอน  
       4. การตรวจนิเทศนักศึกษาฝึกงาน    
       5. สอนวิชาสังคมและวัฒนธรรมไทย     
       6. สอนการทำโครงการ                                                                       

ประสบการณ์ผลงานทางวิชาการ  ระหว่าง พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน        
ด้านการวิจัย

  1. งานวิจัยเรื่องกระบวนการจัดการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์ตามทัศนะของอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ปี พ.ศ. 2549
  2. งานวิจัยแนวทางการศึกษาของกลุ่มอาเซียน ปี พ.ศ. 2552
  3. งานวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้ในการจัดการตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนภาคใต้ตอนบนปี พ.ศ. 2559
  4. โครงการศึกษารูปแบบแนวทางการจัดการป่าเลชุมชนบนฐานชุมชนจัดการตนเองอย่างยั่งยืน  ตำบลท่าทอง  อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สกว.)ปี พ.ศ. 2560
  5. โครงการวิจัยบทบาทและสิทธิสตรีกับกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง (ทุนศูนย์กรรมสิทธิมนุษยชน) ปี พ.ศ. 2561
  1. โครงการวิจัยสำรวจป่าพรุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (การอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าพรุเพื่ออนุรักษ์ป่าพรุร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ปี พ.ศ. 2562

โครงการพัฒนา

     1. โครงการการออกแบบชุดผ้าไหมแนวการแต่งตัวสไตส์พั้ง   ปี พ.ศ. 2549                                   
     2. โครงการสิ่งประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์  ปี พ.ศ. 2551
     3. โครงการเศรษฐกิจพอเพียง   ปี พ.ศ. 2552
     4. โครงการงานประดิษฐ์ฝึกเด็กสมาธิสั้น    ปี พ.ศ. 2553
     5. โครงการคืนความดีพี่สู่น้อง     ปี พ.ศ. 2554          

การเป็นวิทยากร

      1. วิทยากรโครงการทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ในศาสตร์พระราชา ปี พ.ศ.2561 
      2. วิทยากรโครงการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองในเรื่องการจัดการขยะให้แก่ผู้นำชุมชน  ประชาชน  และนักเรียนในตำบลขุนทะเลปี พ.ศ.2561          
      3. วิทยากรโครงการการค้นหาปัญหาและความต้องการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวขุนทะเล  ปี พ.ศ.2561            
      4 .วิทยากรเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาล    นครสุราษฎร์ธานีปี พ.ศ.2561       
      5. วิทยากรโครงการความมั่นคงทางอาหาร ปี พ.ศ.2561         
      6. วิทยากรโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตกลุ่มสตรี ปี พ.ศ.2561       
      7. วิทยากรโครงการการศึกษาพัฒนาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ปี พ.ศ.2561            
      8. วิทยากรเรื่องงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ ปี พ.ศ.2561            
      9. วิทยากรเรื่องงานวิจัยเชิงคุณภาพ ปี พ.ศ.2561
     10. วิทยากรโครงการป่าเลชุมชน พ.ศ.2561
      11. วิทยากรโครงการการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวประมงในพื้นที่อ่าวบ้านดอน

พ.ศ.2561

  1. วิทยากรโครงการนวัตวิถีโอทอป พ.ศ.2562
  2. วิทยากรเรื่องบทบาทและสิทธิสตรีในการจัดการที่ดินในพื้นที่ชัยบุรี (สปก.) พ.ศ.2562
  3. วิทยากรโครงการตาสับปะรด พ.ศ.2562
  4. วิทยากรโครงการสอนศิลธรรม พ.ศ.2562


                                                                                                                                                                        

 

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2562). สิ่งแวดล้อมในชุมนุม. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi5 /chum/chum.htm

กาญจนา คุ้มทรัพย์. (2558). การจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านดอนหมู จังหวัดอุบลราชธานี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นฤมล ขุนวีช่วย. (2558). พลวัตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็ง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(1), 53-74.

พระครูสารกิจประยุต. (2560). การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการแก้ไขปัญหาชีวิต. วารสารธรรมทรรศน์, 17(2), 257-267.

มงคล ไชยภักดีและวัลยา ชนิตตาวงศ์. (2550). สถานการณ์และการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย. ใน รายงานผลวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัยประจำปี 2549. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

ฤิทธิบาน สุชีวะกุล และคณะ. (2557). รูปแบบพัฒนาการจัดการป่าชุมชนพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 123-142.