ศึกษาความหมายและความเข้าใจในความเป็นนิติบุคคล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

Main Article Content

สิริกาญจน์ ศรีสุรัตน์
ฌาน เรืองธรรมสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความหมายความเป็นนิติบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย 2) ความเข้าใจความเป็นนิติบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของราชการส่วนท้องถิ่นและราชการส่วนภูมิภาค ดำเนินการศึกษาวิจัยโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและวิเคราะห์จาก เอกสาร กฎหมาย บทวิเคราะห์ บทความวิชาการ เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งออนไลน์ และเอกสารปกติที่เกี่ยวข้องกับความเป็นนิติบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกข้าราชการส่วนท้องถิ่น และข้าราชการส่วนภูมิภาค รวมจำนวน 12 คน เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปบรรยายเชิงพรรณนา


          ผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนที่มีกิจการหรือวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำบริการสาธารณะในท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ รายได้ และมีอิสระในการดำเนินงาน ตลอดจนมีองค์กรในการดำเนินงานเป็นของตนเองทั้งที่เป็น    สภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนในเขตท้องถิ่นของตน กรณีความเข้าใจนั้นราชการส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาคมีความเข้าใจในความเป็นนิติบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สวนทางกัน ส่งผลให้ในทางปฏิบัตินั้นยังคงขัดกับหลักความเป็นนิติบุคคลอยู่ส่งผลให้ไม่เกิดการใช้อำนาจความเป็นอิสระตามฐานะนิติบุคคลที่ได้รับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ วงศ์วิเศษธร. (2560). ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2562 จาก https://wiki.kpi.ac.th/index.php ?title=ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น:วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2561). รัฐและนิติบุคคลมหาชน. กรุงทพมหานคร: วิญญูชน.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2562). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มิใช่สาขาราชการส่วนภูมิภาค. เรียกใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.bangkokbiznews.com /blog/detail/647573

ท้องถิ่นอำเภอ ที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่. (2562). ศึกษาความหมายและความเข้าใจในความเป็นนิติบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. (สิริกาญจน์ ศรีสุรัตน์ และฌาน เรืองธรรมสิงห์, ผู้สัมภาษณ์)

ไททัศน์ มาลา. (2554). การปกครองท้องถิ่นไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1(2), 29-49.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2562 จาก https://wiki.kpi.ac.th/index. php?title=ความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2553). การกระจายอำนาจ. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2562 จาก https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การกระจายอำนาจ

ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองพล. (2562). ศึกษาความหมายและความเข้าใจในความเป็นนิติบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. (สิริกาญจน์ ศรีสุรัตน์ และฌาน เรืองธรรมสิงห์, ผู้สัมภาษณ์)

รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. (2550). การกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 5(2), 142-148.

ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร, ภูกิจ ยลชญาวงศ์ และรวิวงศ์ ศรีทองรุ่ง. (2560). ปัญหาและอุปสรรคในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชธานี.

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. (2555). ปัญหาการคลังท้องถิ่นไทย : บทสะท้อนจากมุมมองของผู้บริหารเทศบาล. วารสารการจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน, 19(1), 1-27.

iLaw. (2554). นักวิชาการชี้ กม.ลูกตามรัฐธรรมนูญ สร้างอุปสรรคกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 จาก https://ilaw.or.th/node/1093

iLaw. (2561). นักวิชาการชี้ 'ปฏิรูประบบราชการ-กระจายอำนาจ' ยกระดับคุณภาพชีวิตได้. เรียกใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 จาก https://ilaw.or.th/node/5074

iLaw. (2561). สี่ปี คสช. ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น กระจายอำนาจถอยหลัง ราชการแทรกแซงท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://ilaw.or.th /node/4809