รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขาย

Main Article Content

ภาดาภัสสรณ์ ภาดาพิลาสธานันทร์
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการด้านการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขาย 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขายตามหลักพุทธจิตวิทยาและ 3) เสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขาย โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การศึกษาเอกสารและนำมาสร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อนำไปสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน พัฒนารูปแบบโดยการสนทนากลุ่มเฉพาะ ตรวจสอบรูปแบบด้วยการสัมมนาเพื่อรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานขายที่ปฏิบัติหน้าที่ในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


          ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการด้านการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขาย พนักงานขายขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า ขาดทักษะในการแนะนำสินค้าเพื่อเพิ่มยอดขาย ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ขาดการอบรมเกี่ยวกับงานบริการและทักษะการพูดโน้มน้าวลูกค้า สำหรับแนวทางในการพัฒนาพนักงานขาย ส่วนใหญ่ต้องการได้รับการพัฒนาในด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับงานบริการ โดยเห็นความสำคัญในการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดสัมมนา จัดให้มีการศึกษาดูงาน และจัดกิจกรรมสัมพันธ์ องค์ประกอบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขายตามหลักพุทธจิตวิทยา องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขายตามหลักพุทธจิตวิทยาที่ถูกเลือกเข้ามามี 26 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านปฏิบัติงานภายใต้ความต้องการขององค์กร จำนวน 11 องค์ประกอบ ปัจจัยด้านสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า จำนวน 12 องค์ประกอบ และปัจจัยด้านขายสินค้าและบริการ จำนวน 11 องค์ประกอบ รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขาย รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขายคือ “3C 4D 4T Model”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Shermon Ganesh. (2004). Competency Based HRM. New Delhi: McGraw-Hill Publishing Company Limited.

ณรงค์ ศรีเกรียงทอง และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). สภาพปัญหา ความต้องการของแรงจูงใจภายใน/ภายนอก และสวัสดิการของพนักงานที่ปรึกษางานขาย PC และพนักงานที่ปรึกษาด้านความงาม BA ของ บริษัท โมเดิร์สคาสอินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติกส์ จำกัด.
Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 72-83.

ธีรพงษ์ แสนเจียม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับงานบริการของพนักงานขายและหัวหน้างาน : กรณีศึกษาบ้านมิสเตอร์โดนัท โซน 14. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาตร สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ประภาศรี สวัสดิ์อำไพรักษ์. (2556). การส่งเสริมการตลาดในธุรกิจบริการ ประมวลสาระชุดวิชา 32710 สัมมนาการจัดการการตลาด. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปาลิตา แซ่ก้วง. (2557). สมรรถนะ การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสุขในการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการขายของพนักงานขายในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ลักษณ์สุภา พึ่งผล และมณฑล สรไกรกิติกูล. (2561). การใช้เรื่องเล่าในการพัฒนาทักษะการขาย. MFU Connexion, 7(2), 127-138.

วีรยา ภัทรอาชาชัย. (2539). หลักการวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: อินเตอร์เทคพริ้นติ้ง.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2557). รายงานประจำปี 2557. กรุงเทพมหานคร: สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน).