กระบวนทัศน์เชิงพุทธจิตวิทยาในเพลงลูกทุ่งไทย

Main Article Content

จำนงค์ ไชยมงคล

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องกระบวนทัศน์เชิงพุทธจิตวิทยาในเพลงลูกทุ่งไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ   1) วิเคราะห์โครงสร้าง เนื้อหา องค์ประกอบและกระบวนการของเพลงลูกทุ่งไทย เชิงพุทธจิตวิทยาทั้งหลักการ วิธีการ และเป้าหมายของเพลงลูกทุ่งไทย 2) สังเคราะห์เชิงบูรณาการหลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในบทเพลงลูกทุ่งไทย และ    3) เสนอรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญทางด้วยพุทธจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญในการใช้ดนตรี จำนวน 17 รูป/คน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจำนวน 440 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อห้า และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน (Inferential analysis statistics) ประกอบด้วยการทดสอบค่าที ( t-test) ค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)


 


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. โครงสร้าง เนื้อหา องค์ประกอบและกระบวนการของเพลงลูกทุ่งไทยเชิงพุทธจิตวิทยาทั้งหลักการ วิธีการ และเป้าหมายในขอบเขตของเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า มีโครงสร้างของเพลงเป็นศิลปะแบบชาวบ้านที่สัมผัสพร้อมกันทั้งนาฏกรรม การแสดง วรรณกรรม เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในวิถีชีวิตชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ครอบครัว วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา และการเมืองการปกครอง ด้วยส่วนผสมของทัศนศิลป์เพื่อถ่ายทอดทำนอง จังหวะ และสาระของเพลง แม้ว่าเพลงจะมุ่งเน้นความบันเทิงเป็นหลัก แต่เพลงลูกทุ่งที่เป็นอมตะก็จะปรากฏมีเนื้อหาที่กินใจด้วย โดยเฉพาะเนื้อหาที่เอื้อต่อความเข้าใจชีวิต เพื่อการพัฒนาคุณธรรมและความสุข ดังนั้นนอกจากจะได้ความบันเทิงแล้ว ผู้ฟังที่ดียังได้รับสาระปัญญาจากเนื้อหาเพลงด้วย

  2. การสังเคราะห์เชิงบูรณาการหลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในบทเพลงลูกทุ่งไทยพบว่า มีการบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย หลักอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นกระบวนการแก้ปัญหา หลักไตรสิกขา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณธรรมและความสุขตามระบบศีล สมาธิ และปัญญา โดยองค์ธรรมทั้ง 3 เอื้อต่อกันและกันในกระบวนการพัฒนาคุณธรรมและความสุขของบุคคล พร้อมกับพัฒนาอินทรีย์หรือสมรรถนะของบุคคลตามหลักพละ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ส่วนความสุขพัฒนาตามองค์สมาธิ 5 ซึ่งประกอบด้วยปราโมทย์ ปิติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ

          3. รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า 1) การวัดผลคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เรียนคณะวิทยาศาสตร์ อาชีพครอบครัวเป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจและรับจ้าง สนใจองค์ประกอบเพลงด้านดนตรี เป็นกลุ่มกำหนดเพลง ให้ความสนใจต่อดนตรี ทำนอง และเนื้อหาสาระเพลงในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 มีความสุขในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 เพศมีผลต่อความแตกต่างในความพึงพอใจด้านภาษาในบทเพลง ชั้นปีที่ศึกษา คณะที่ศึกษา อาชีพครอบครัว จุดสนใจเพลง และการกำหนด/ไม่กำหนดเพลง มีความแตกต่างในระดับความพึงพอใจในตัวศิลปิน ดนตรี เนื้อหา ภาษาคุณธรรม และความสุขด้านปราโมทย์ ปิติ ปัสลัทธิ สุข และสมาธิ 2) รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสอดคล้องกับหลักการพัฒนาในกระบวนการอริยสัจจ์ 4 คือ ในแง่ของเนื้อหาสาระเพลง ผู้ประพันธ์ได้บรรยายสภาพปัญหาหรือทุกข์ของสังคม สาเหตุหรือสมุทัยของปัญหาการพ้นจากปัญหา คือ นิโรธ แนวทางที่ทำให้พ้นจากสภาพปัญหา การแต่งเพลงตามกระบวนแห่งอริยสัจจ์ คือ การกำหนดปัญหาได้ครอบคลุม การรู้เหตุผลของประเด็นที่จะนำเสนอ การชี้ทางออก และเสนอวิธีแก้ไขปัญหาหรือทางออกของปัญหา และด้วยเหตุที่เพลงลูกทุ่งไทยมีความหลากหลายยืดหยุ่นทั้งในแง่ของเนื้อหา เป้าหมายและวิธีการ จึงทำให้เพลงลูกทุ่งไทยสามารถที่จะสังเคราะห์เชิงบูรณาการเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงบวกได้หลากหลายสอดคล้องกับกาลเทศะตามหลักพุทธจิตวิทยาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. จากการวิเคราะห์โครงสร้าง เนื้อหา องค์ประกอบและกระบวนการของเพลงลูกทุ่งไทยเชิงพุทธจิตวิทยาทั้งหลักการ วิธีการ และเป้าหมายในขอบเขตของเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า โครงสร้างของเพลงลูกทุ่งไทยเป็นศิลปะแบบชาวบ้านที่สัมผัสพร้อมกันทั้งนาฏกรรม การแสดง วรรณกรรม เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในวิถีชีวิตชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ครอบครัว วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา และการเมืองการปกครอง ด้วยส่วนผสมของทัศนศิลป์เพื่อถ่ายทอดทำนอง จังหวะ และสาระของเพลง แม้ว่าเพลงจะมุ่งเน้นความบันเทิงเป็นหลัก แต่เพลงลูกทุ่งที่เป็นอมตะก็จะปรากฏมีเนื้อหาที่กินใจด้วย โดยเฉพาะเนื้อหาที่เอื้อต่อความเข้าใจชีวิต เพื่อการพัฒนาคุณธรรมและความสุข ดังนั้นนอกจากจะได้ความบันเทิงแล้ว ผู้ฟังที่ดียังได้รับสาระปัญญาจากเนื้อหาเพลงด้วย

  2. จากการสังเคราะห์เชิงบูรณาการหลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า การบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย หลักอริยสัจจ์ 4 ซึ่งเป็นกระบวนการแก้ปัญหา หลักไตรสิกขา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณธรรมและความสุขตามระบบศีล สมาธิ และปัญญา โดยองค์ธรรมทั้ง 3 เอื้อต่อกันและกันในกระบวนการพัฒนาคุณธรรมและความสุขของบุคคล พร้อมกับพัฒนาอินทรีย์หรือสมรรถนะของบุคคลตามหลักพละ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ส่วนความสุขพัฒนาตามองค์สมาธิ 5 ซึ่งประกอบด้วยปราโมทย์    ปิติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ

  3. จากการวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า

                   1)  การวัดผลคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เรียนคณะวิทยาศาสตร์ อาชีพครอบครัวเป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจและรับจ้าง สนใจองค์ประกอบเพลงด้านดนตรี เป็นกลุ่มกำหนดเพลง ให้ความสนใจต่อดนตรี ทำนอง และเนื้อหาสาระเพลงในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 มีความสุขในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 เพศมีผลต่อความแตกต่างในความพึงพอใจด้านภาษาในบทเพลง ชั้นปีที่ศึกษา คณะที่ศึกษา อาชีพครอบครัว จุดสนใจเพลง และการกำหนด/ไม่กำหนดเพลง มีความแตกต่างในระดับความพึงพอใจในตัวศิลปิน ดนตรี เนื้อหา ภาษาคุณธรรม และความสุขด้านปราโมทย์ ปิติ ปัสลัทธิ สุข และสมาธิ 


                   2) รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสอดคล้องกับหลักการพัฒนาในกระบวนการอริยสัจจ์ 4 คือ ในแง่ของเนื้อหาสาระเพลง  ผู้ประพันธ์ได้บรรยายสภาพปัญหาหรือทุกข์ของสังคม สาเหตุหรือสมุทัยของปัญหา  การพ้นจากปัญหา คือ นิโรธ แนวทางที่ทำให้พ้นจากสภาพปัญหา การแต่งเพลงตามกระบวนแห่งอริยสัจจ์ คือ การกำหนดปัญหาได้ครอบคลุม  การรู้เหตุผลของประเด็นที่จะนำเสนอ การชี้ทางออก  และเสนอวิธีแก้ไขปัญหาหรือทางออกของปัญหา และเพราะเหตุที่เพลงลูกทุ่งไทยมีความหลากหลายยืดหยุ่นทั้งในแง่ของเนื้อหา เป้าหมายและวิธีการ จึงทำให้เพลงลูกทุ่งไทยสามารถที่จะสังเคราะห์เชิงบูรณาการเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงบวกได้หลากหลายสอดคล้องกับกาลเทศะตามหลักพุทธจิตวิทยาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรเลิศ อิฐฐ์. (2554). เปิดห้องเรียนวิชาความสุข. กรุงเทพมหานคร: The Sagalyn Agency.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตหรือการศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระมหาสมชัย สิริวฑฺฒโน (ศรีนอก). (2537). หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในบทเพลงลูกทุ่งไทย. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัทยา ภักดีบุรี. (2535). การศึกษาวรรณกรรมเพลงของ ไพบูลย บุตรขัน. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย . มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

มาลินี ไชยชำนาญ. (2535). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของชลธี ธารทอง. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.