รูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

พระมหาเสงี่ยม สุวโจ (มณีวงษ์)
พระครูพิพิธปริยัติกิจ .
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของวัดและแนวคิดของการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี เป็นวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีประชากร คือ ประชาชนผู้มาทำบุญที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง ประชากรผู้มาทำบุญที่วัดพระพุทธบาทวรมหาวิหาร โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจำนวน 400 คน เพื่อตอบแบบสอบถามความพึงพอใจตามหลักสุขภาวะ 4 ด้าน       ผลการวิจัยพบว่า


          1. สภาพปัญหาของวัดและแนวคิดการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยาในจังหวัดสระบุรี จากการวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็งของวัด ในจังหวัดสระบุรีมีวัตรปฏิบัติมุ่งสู่วิธีการปฏิบัติธรรม มีความสงบ ปราศจากการรบกวน โดยสภาพบริเวณรอบ ๆ ถือเป็นเขตเมืองมีความเจริญ ไปมาสะดวก สามารถหาพาหนะเดินทางได้ง่าย บรรยากาศในวัดสะอาด สงบ ร่มรื่น โปร่ง ลมพัดเย็นสบาย โคจรคามรอบ ๆ บริเวณวัดพระพุทธบาทและมีชุมชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จุดอ่อนคือ การจัดสภาพแวดล้อมมีสภาพไม่เอื้อต่อความเป็นสัปปายะและบ้านชุมชนรอบวัด มีความกลัวการเปลี่ยนแปลงและการทำลายความเป็นโบราณสถานของวัด 2. สร้างรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยาในจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย 1) ด้านสภาพแวดล้อมภายในวัด คือ จัดมุมรมณียสถานในวัด มีป้ายประชาสัมพันธ์ มีมุมเก็บภาพที่ระลึก ต้นไม้พูดได้ มีป้ายปริศนาธรรมนำชีวิต 2) ด้านกิจกรรมบุญสร้างสุขคือ รับบาตรในศาลา การสวดมนต์ การฟังธรรม การจัดค่ายคุณธรรม ชีวิตพัฒนาได้ถ้าใจมีศีล 3. ด้านกิจกรรมชุมชนสร้างสุข คือ แจกทานผู้ยากไร้รอบวัด จิตอาสาพัฒนาวัด ทักษะชีวิต เกมชีวิตพิชิตทุกสิ่งและพัฒนาชีวิตพลิกวิกฤติเป็นโอกาส และ 3) จากการประเมินความพึงพอใจของผู้มาทำบุญที่วัด พบว่า มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยาอยู่ในระดับมาก เป็นการยืนยันการพัฒนาวัดตาม โมเดล ACCG Wat Model เป็นรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขที่สามารถทำให้ผู้เข้ามาทำบุญที่วัดมีความสุขตามกรอบสุขภาวะ 4 ด้านคือ กาย อารมณ์ สังคม และ ปัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระครูโสภณพุทธารักษ์ (ธมฺมรโส) และคณะ. (2560). การประยุกต์หลักสัปปายะ 7 เพื่อพัฒนาครูสมาธิรุ่น 39 สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 73 วัดพระงาม จังหวัดตรัง. ใน รายงานการวิจัย สาขาวิชาสันติศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวีระศักดิ์ ชยธมฺโม (สุวรรณวงศ์). (2558). แนวทางการจัดการวัดสันติสุขตามหลักสัปปายะ 7: กรณีศึกษาวัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 98-114.

พุทธะดอทคอม. (2560). ความรู้เกี่ยวกับพระสงฆ์. เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.phuttha.com/พระสงฆ์/ความรู้เกี่ยวกับพระสงฆ์/สัปปายะ7

วชิระ เพ็งจันทร์. (2556). ธรรมะช่วยเสริมสุขภาพจิตแก้ปัญหาวัยรุ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2556 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/3154-ธรรมะช่วยเสริมสุขภาพจิตแก้ปัญหาวัยรุ่น.html

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2559). วัดสร้างสุข โลกแห่งสัปปายะ. กรุงเทพมหานคร : โครงการวัดสร้างสุข สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).