หลักธรรมกับผู้กระทำผิด

Main Article Content

ธานี วรภัทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาถึงการนำหลักธรรมที่เหมาะสมกับการนำมาใช้กับผู้กระทำความผิด โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อได้มาซึ่ง ประเภทหลักธรรมที่เหมาะสมและรูปแบบและกระบวนการต่าง ๆ ในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้ทำผิด เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้ทำความผิดให้กลับเป็นพลเมืองดี ไม่กระทำความผิดซ้ำ


          จากการศึกษามีข้อค้นพบ คือ หลักธรรมสำคัญเริ่มแรกของการใช้กับผู้กระทำความผิดคือ “สติ” การสร้างสติและการสร้างสมาธิ ให้เกิดขึ้นในตนเอง ส่งผลให้เริ่มต้นกระบวนการคิดของสมอง เห็นความจริงตามหลักธรรม ตระหนักรู้ รู้ทันต่อชีวิต ตามหลัก “สติสัมปชัญญะ และปัญญา” เกิดตัวรู้ใหม่ ๆ สร้างการรู้จักตัวเอง เห็นคุณค่าในตัวเอง ที่ถูกต้องสมบูรณ์ จนถึงระดับมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่จะไม่กระทำความผิดอีก โดยต้องให้ผู้กระทำผิดผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลายรูปแบบ ข้อค้นพบ “หลักธรรมที่เหมาะสมกับผู้กระทำผิด” ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ของความโลภ โกรธ หลง กับตัวเรา 2) หิริ โอตตัปปะ 3) เรื่องขันธ์ 5 4) สติ สัมปชัญญะ 5) สมุหทัย 6) อายตนะ 6 7) อินทรียสังวร 8) ทุจริต 3 9) อินทรีย์ 5 10) ทาน ศีล ภาวนา 11) จิต(มโน)  12) ทุกข์ 13) กามตัณหา 14) กิเลส 1,500 ตัณหา 108 15) อุปกิเลส 16 ประการ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธานี วรภัทร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ตำเเหน่ง : ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเเละพัฒนาทางนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สาขาที่เชี่ยวชาญ : น.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, น.ม. (กฎหมายธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ประกาศนียบัตร (กฎหมายภาษีอากร) สำนักศึกษาอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, น.ด. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


 

References

ธานี วรภัทร์. (2558). การบังคับโทษและวัตถุประสงค์ของการบังคับโทษจำคุก. วารสารกำลังใจ, 3(4), 57-62.

ธานี วรภัทร์. (2561). หลักธรรมสำหรับผู้กระทำผิด. ใน ทุนสำนักพระดำริในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา. กระทรวงยุติธรรม.

พระพุทธโฆสเถระ. (2546). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศพริ้นท์ติ้ง จำกัด.

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์. (2561). จิตตมนต์ ปัญญาบำบัด. สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2556). จิตตนคร. กรุงเทพมหานคร: สาละพิมพ์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ส.ไพบูลย์การพิมพ์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). นิติศาสตร์แนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). บทนำสู่พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ส.ไพบูลย์การพิมพ์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 48). กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

Bringewat Peter. (2008). Grundbegriffe des Strafrecht. Auflage: Baden-Baden.