โปรแกรมพุทธจิตวิทยาลดความเครียดของนักเรียน ประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พระครูโพธิธรรมนิวิฐ .

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องโปรแกรมพุทธจิตวิทยาลดความเครียดของนักเรียนประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาความเครียด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อสร้างโปรแกรมพุทธจิตวิทยาลดความเครียดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อทดสอบและนำเสนอโปรแกรมพุทธจิตวิทยาลดความเครียดของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระเบียบวิธีวิจัยได้แก่เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นักเรียนประถมศึกษาเรียน โรงเรียนวัดมาบโพธิ์ โรงเรียนวัดผดุงธรรม และโรงเรียนวัดหนองเป้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 9 คน ผู้ปกครองของนักเรียนประถมศึกษาเรียน โรงเรียนวัดมาบโพธิ์ โรงเรียนวัดผดุงธรรม และโรงเรียนวัดหนองเป้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และครูของนักเรียนประถมศึกษาเรียน โรงเรียนวัดมาบโพธิ์ โรงเรียนวัดผดุงธรรม และโรงเรียนวัดหนองเป้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 21 คน และมีกลุ่มทดลองทั้งสิ้น 30 คน ใช้สถิติ คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ t-test


          ผลการศึกษาพบว่า


  1. ความเครียดของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย มี 5 ด้าน น่าจะเป็นสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดที่พบ คือ 1) สุขภาพกาย 2) อารมณ์ 3) การเรียน 4) สังคม และ5) สภาพแวดล้อม และการจัดการความเครียดโดยมีกัลยาณมิตรคอยให้คำแนะนำ

  2. การสร้างโปรแกรมพุทธจิตวิทยาลดความเครียดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า พุทธจิตวิทยาโปรแกรมลดความเครียดของนักเรียนประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้ ด้วยวิธีการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มปิด (Close Group)

          3. ผลทดสอบและนำเสนอโปรแกรมพุทธจิตวิทยาลดความเครียดของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากการศึกษาจึงสามารถสรุปได้ว่าเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เมื่อได้รับโปรแกรมลดความเครียดของเด็กจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมความเครียดลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2543). คู่มือคลายเครียด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สยามเอ็มแอนด์บีพับลิชชิ่ง.

วันเพ็ญ หวังวิวัฒน์เจริญ และสาระ มุขดี. (2539). ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลเกื้อ การุณย์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41(2), 78-86.

สุภาภัทร ทนเถื่อน. (2553). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อินทิรา ปัทมินทร และคณะ. (2543). คู่มือคลายเครียด. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต โรงพยาบาลศรีธัญญา.

Beck D.L.& Srivastava, R. (1999). Perceived Level and Sources of Stress in Baccalaureate Nursing Students. Journal of Nursing Education, 30(3).

Zweig N. B. (1988). Stressful Evens and Ways of Coping of Baccalaureate Student Nurses in the Clinical Laboratory. Dissertation Abstract on Disc, (CD - DOM), 1-124.