การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริม การอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จุไรภรณ์ จันทร์จิตตะการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบขั้นตอนการสอนและ  กลยุทธ์การเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย สร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีวิจัยแบบในลักษณะผสมผสานของการวิจัยและพัฒนากลุ่มประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนวัดทุ่งคา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จำนวน 30 คน ครูผู้สอนภาษาไทย และผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายสถานศึกษากำแพงเพชร จำนวน 9 โรง และศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบวิเคราะห์ และแบบสังเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบ กลยุทธ์ และขั้นตอนการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ก่อนและหลังเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent)


          ผลการวิจัยพบว่า


          องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ทฤษฎี หลักการ แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหาตามหลักสูตร 4) ขั้นตอนการเรียนการสอนของรูปแบบ 5) เทคนิคการสอน และ 6) การวัดและประเมินผล กลยุทธ์การเรียน การสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้มี 4 กลยุทธ์ เรียกว่ากลยุทธ์ 4 ส คือ 1) กลยุทธ์สร้างเสริมปัญญา 2) กลยุทธ์สร้างองค์ความรู้ 3) กลยุทธ์สร้างทีมสัมพันธ์และ 4) กลยุทธ์สร้างเสริมทักษะการสื่อสาร ขั้นตอนการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Check prior knowledge: C) ขั้นที่ 2 ขั้นกระตุ้น ความสนใจ (Arouse interest: A) ขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรมการอ่าน (Reading activities: R) ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผลการอ่าน (Evaluation: E) เรียกว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบแคร์ (CARE Model) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจจา กำแหง. (2550). กลยุทธ์การอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ในการอ่านสูงและต่ำ. วารสารมนุษยศาสตร์, 4(2), 41-63.

กิตติยาวดี บุญซื่อ. (2548). รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาครูทั้งโรงเรียน ประสบการณ์จากโรงเรียนในโครงการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิลรัตน์ นวกิจไพทูรย์. (2561). การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยวารสาร. นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 9(1).

พัชรี ทองเรือง,ปัญญา เลิศไกร และ กันตภน หนูทองแก้ว. (2560). รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน. นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 9(2).

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ลออ คันธวงศ์. (2551). ผลการใช้กิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยนิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

วรัญญา โอภาษี. (2554). การใช้กลวิธีความรู้ความเข้าใจและกลวิธีทางสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษ และลดความวิตกกัวลในชั้นเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศักดา กะแหยมเตบ นพรัตน์ ชัยเรือง และประยงค์ ชูรักษ์. (2561). แนวทางการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(2).

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หนึ่งฤทัย วามตา. (2554). การใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับสื่อสภาพจริงเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและแรงจูงใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Joyce, B.R., & Weil, M. (2000). Models of Teaching (6th ed). Massachusetts: Allyn & Bacon.

O’Malley, J. M. & Chamot, A. U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge: Cambridge University Press.

Oxford, Rebecca. (1990). Language Learning Strategies: What Every Teacher Should Know. New York: Newbury House Publishers.

Wenden, A & Rubin, Joan. (1987). Learner Strategies in Language Learning. New Jersey: Prentice Hall.