การพัฒนาการแนะแนวตามหลักพุทธบริหารการศึกษา ในระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

กฤษณา ประชากุล
อินถา ศิริวรรณ
อำนาจ บัวศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการแนะแนวในระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการแนะแนวตามหลักบริหารการศึกษา 3) เพื่อพัฒนาการแนะแนวตามหลักพุทธบริหารการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาแนะแนว 10 คน การสัมภาษณ์ครูต้นแบบและผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักพุทธธรรม จำนวน 12 รูป/คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูป/คน ใช้เครื่องมือการวิจัยคือแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปผลการสนทนากลุ่ม


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนได้รับข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง โดยมีขอบเขตการแนะแนว 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการศึกษา ให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองในด้านการเรียนอย่างเต็มศักยภาพ 2) ด้านการอาชีพ ให้นักเรียนได้รู้และเข้าใจโลกของงานอาชีพอย่างหลากหลาย มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีการเตรียมตัว สู่โลกของอาชีพ 3) ด้านชีวิตและสังคม ให้นักเรียน มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีเจตคติที่ดีต่อการมีชีวิตที่ดี มีคุณภาพ มีทักษะ และสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

  2. หลักธรรม คือ 1) อิทธิบาท 4 ส่งเสริมการแนะแนวด้านการศึกษา เพราะเป็นคุณลักษณะที่ใช้ทำงานให้เกิดความสำเร็จ ประกอบด้วย (1) ฉันทะ (2) วิริยะ (3) จิตตะ (4) วิมังสา 2) ใช้หลักสัทธรรม 3 ส่งเสริมการแนะแนวด้านการอาชีพ ประกอบด้วย (1) ปริยัติ คือ การศึกษา เรียนรู้ หาความรู้ (2) ปฏิบัติ คือ กระทำเพื่อให้เกิดความชำนาญ และ (3) ปฏิเวธ คือ การเข้าใจลุล่วงผลปฏิบัติ และ 3) ใช้หลักฆราวาสธรรม 4 ส่งเสริมการแนะแนวด้านชีวิตและสังคม (1) สัจจะ ความซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน (2) ทมะ การรู้จักควบคุมอารมณ์ (3) ขันติ ความอดทน อดกลั้น ต่อจากถ้อยคำหรือกิริยาอาการจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ล่วงเกิน (4) จาคะ ความเสียสละ ความเผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน ตลอดจนการเสียสละความพอใจความสุขส่วนตน เพื่อเห็นประโยชน์ส่วนรวม

  3. สาระสำคัญ ประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ ของการแนะแนวตามหลักพุทธบริหารการศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 2) การจัดกิจกรรมแนะแนว หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 3) การวัดผลประเมินผลกิจกรรมแนะแนว 4) แผนงานกิจกรรมแนะแนวพัฒนาผู้เรียน 5) คู่มือแผนงานกิจกรรมแนะแนวพัฒนาผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 6) โครงสร้างแผนงานกิจกรรมแนะแนว 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 การศึกษาบูรณาการกับหลักอิทธิบาท 4 หน่วยที่ 2 การอาชีพ บูรณาการกับหลักสัทธรรม 3 และหน่วยที่ 3 ชีวิตและสังคม บูรณาการกับหลักฆราวาสธรรม 4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Gold S. E. (2017). Community Organizing at a Neighborhood High School: Promises and Dilemmas in Building Parent-educator Partnership and Collaborations. Pro Quest Digital Dissertations.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้.

ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน. (2552). คำพ่อสอน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา. (2554). ปฏิรูปการศึกษาก้าวหน้าอย่างมั่นใจ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สนิท สายธนู และคณะ. (2549). การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านจริยธรรมศึกษาแก่นักเรียนระดับมัธยม ศึกษาตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2. ใน รายงานการวิจัย. ศูนย์ส่งเสริมคุณธรรมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี. เรียกใช้เมื่อ 3 เมษายน 2561 จาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/ 25017-EdPlan60-79.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2560 จาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded/ Outstand/2017- EdPlan 60-79.pdf.

สุรศักดิ์ หลาบมาลา. รศ.ดร. และ รสสุคนธ์ มกรมณี. ผศ.ดร. (2549). รูปแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนการสอนคุณธรรมจริยธรรมของต่างประเทศ. ศูนย์ส่งเสริมคุณธรรมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) : สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).