การบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต สู่บริบทประเทศไทย 4.0

Main Article Content

สมศักดิ์ คงทอง
พิภพ วชังเงิน
อติพร เกิดเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 2) เพื่อศึกษาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 3) เพื่อศึกษาการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยและการจัดการสาธารณภัยกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตเป็นประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 402,017 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อน 5% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของทุกข้อคำถามมากกว่า 0.70 หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.192, SD=0.69) 2) การจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.18, SD=0.71) 3) การบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.20, SD=0.68) 4) พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยและการจัดการสาธารณภัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16 (3), 297-334.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. New York: Wood Worth.

The United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNISDR). (2013). Post-2015 Framework for Disaster Risk Reduction (HFA2). Report from 2013 Global Platform Consultations. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.unisdr.org/files/35070_hfa2consultationsgp2013report.pdf

กรมทรัพยากรน้ำ. (2556). โครงการจัดทำแผนรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี. ใน รายงานฉบับสุดท้าย (รายงานหลัก). กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2555). ความร่วมมือด้านการจัดการสาธารณภัยในอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2556). การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2560). 15 ปี ปภ. สานพลัง “ประชารัฐ” จัดการสาธารณภัยเชิงรุก ขับเคลื่อน Thailand 4.0 มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.disaster.go.th/th/cdetail-12035-news-207-1/

จิรนนท์ พุทธา และจำลอง โพธิ์บุญ. (2561). การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(1), 31-44.

ณรัฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธนวัฒน์ แปงใจ. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการบริหารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขา. ใน รายงานการศึกษา. วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

ประสิทธิ์ เวียงสงค์ และคณะ. (2557). แนวทางการพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยของเทศบาลตําบลกมลาไสย อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารบัณฑิตศึกษา, 11(53), 89-96.

พิทักษ์ มั่นจันทึก และศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน. (2558). กลยุทธ์การบริหารด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารศิลปากร, 8(2), 2351-2368.

พิมพ์ระพี พันธ์วิชาติกุล. (2561). เรือล่มที่ภูเก็ตกับการลงทุนท่องเที่ยวปลอดภัย. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.thebangkokinsight.com

วิทวัส ขุนหนู. (2556). การพัฒนาเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการป้องกันอุทกภัย กรณีศึกษาอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 31(1), 163-181.

สายฝน แสงหิรัญ ทองประเสริฐ และชนิษฎา ชูสุข. (2558). การจัดการภัยพิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายองค์กรชุมชน. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(4), 112-123.

หทัยทิพย์ นราแหวว และทวิดา กมลเวชช. (2561). การบริหารจัดการอุทกภัยของเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(1), 229-245.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. (2560). แผนยุทธศาสตร์ภูเก็ต พ.ศ. 2560-2564. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.phuket.go.th/webpk/default.php/%20webpk/file_data/gastronomy/01.pdf

อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2557). บริหารงานงานคุณภาพในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.