การบูรณาการการตีความหลักสาสนปัฏฐานกับ ความจริงในเรื่องเล่าของปอล ริเคอร์

Main Article Content

พระมหานุกูล อริยธรรมวัฒนา
พระมหาพรชัย ศรีภักดี
พระราชปริยัติมุนี .

บทคัดย่อ

บทความเรื่องการบูรณาการการตีความหลักสาสนปัฏฐานกับความจริงในเรื่องเล่าของปอล ริเคอร์ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาหลักการตีความตามแนวสาสนปัฏฐาน แนวคิดการตีความความจริงในเรื่องเล่าตามแนวคิดของปอล ริเคอร์ และนำเสนอการบูรณาการการตีความตามแนวสาสนปัฏฐานกับการตีความความจริงในเรื่องเล่าของปอล ริเคอร์ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาจากเอกสาร


          ผลการวิจัยพบว่า หลักการตีความตามแนวสาสนปัฏฐาน เป็นการนำเสนอการตีความจากอัตวิสัยไปสู่ภววิสัย มีระบบและกรอบการตีความชัดเจน เพราะเป็นการตีความภายใต้หลักการใหญ่คืออริยสัจสี่ การตีความตามแนวคิดของริเคอร์ มีโลกทัศน์อัตวิสัยมากกว่าวัตถุวิสัย เป็นได้ทั้งการอธิบายความและความเข้าใจ ผู้อ่านมีบทบาทสำคัญในการจัดระเบียบของเรื่องเล่าซึ่งเป็นโลกแห่งประสบการณ์ชีวิต การตีความดำรงอยู่ที่จุดตัดกันของการจัดรูปในตัวบทกับการจัดรูปใหม่ให้แก่ชีวิตซึ่งอยู่นอกตัวบท เมื่อนำการตีความที่มีความเป็นอัตวิสัยบูรณาการเข้ากับการตีความแบบสาสนปัฏฐานซึ่งเป็นวัตถุวิสัย ทำให้เห็นความสอดคล้องลงตัวของการตีความ ความยืดหยุ่นในการตีความแบบริเคอร์ที่มีเกณฑ์จริยธรรมแบบสาสนปัฏฐานคอยสอดส่องพิจารณาเมื่อมีการตีความตัวบท


          การตีความของปอล ริเคอร์ มีจุดเด่นตรงที่การให้เสรีภาพในการตีความสาสนปัฏฐานมีจุดเด่นที่เกณฑ์การตรวจสอบว่า เสรีภาพในการตีความนั้นเป็นอย่างไร งานวิจัยนี้จึงมีความสำคัญที่เป็นการกำหนดแนวทางการตีความให้แก่ภาษาทางศาสนา อันจะทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างและในศาสนาที่สำคัญของโลกสมัยปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Comstock, Gary L. (1993). The Truth of Religious Narrative. International Journal for Philosiphy of Religion, (34)3, 131-150.

Lopez, Donald S. Jr. (1988). Buddhist Hermeneutics. Honolulu: University of Hawaii Press.

Ricoeur, Paul. (1981). Hermeneutics and the Human Sciences. Cambridge: Cambridge University Press.

Ricoeur, Paul. (1985). Time and Narrative Volume III. Chicago: University of Chicago press.

Ricoeur, Paul. (1991). Life in Quest of Narrative, in On Paul Ricoeur: Narrative and Interpretation, David Wood. London: Routledge.

Ricoeur, Paul. (2008). From text to Action: Essays in Hermeneutics ll. New York: Continuum.

กีรติ บุญเจือ. (2546). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์ เล่มห้า ย้อนอ่านปรัชญากังขาของมนุษยชาติ (ช่วงวิจารณ์ระบบเครือข่าย). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

ธมฺมปาลเถร. (2539). เนตติอฏฺฐกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ.

ปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2540). ความจริงของเรื่องเล่าทางศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรณ์ สิงห์สุริยา และคณะ. (2556). เรื่องเล่า อัตลักษณ์ และความยุติธรรมในปรัชญาของปอล ริเกอร์. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2550). รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2534). มหาวิทยาลัยกับงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2553). เพื่อความเข้าใจปัญหาโพธิรักษ์. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

มหากจฺจายนเถร. (2540). เนตฺติ-เปฏโกปเทสปกรณํ ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย เล่มที่ 28 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2552). การศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เถวาท. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2559). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.