รูปแบบการพัฒนาศักยภาพบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Main Article Content

ธนัช ชูศรี
สิน งามประโคน
อำนาจ บัวศิริ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน ใช้แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) จากกลุ่มตัวอย่าง 317 รูป/คน โดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นของบัณฑิตในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ

  2. แนวการพัฒนาศักยภาพบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ คือ STEP3 MODEL ซึ่งเป็นอันเป็นการนำศาสตร์ตะวันตกมาบูรณาการกับหลักพุทธธรรมเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อบัณฑิตในการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิต

  3. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์ 2) เนื้อหา 3) กระบวนการพัฒนา และ 4) การประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.

พลตรี ณรัฐ สวาสดิ์รัตน์. (2558). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทหารพรานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักพุทธธรรม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 179-196.

เพชรธนินทร์ การะวิโก. (2558). รูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ว่าที่ร้อยตรีหญิง สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2558). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎี สาขาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2561). สถิติข้อมูลจำนวนบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. เรียกใช้เมื่อ 24 ธันวาคม 2561 จาก https://www. mua.go.th/assets/img/pdf/61.10.26_สถิติอุดมศึกษา%202558-2560_V4.pdf

สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). หลักบูรณาการทางการศึกษาตามนัยแห่งพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุดร เขียวอ่อน. (2560). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Prensky. M. (2001). a. Digital Natives Digital Immigrants Part 1. On the Horizon, 9(5), 1-6.