รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

อัญชิสา ชูศรี
สิน งามประโคน
อำนาจ บัวศิริ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล  3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ สำหรับนักศึกษาพยาบาลใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ผู้เกี่ยวข้องกับวิชาชีพพยาบาล จำนวน 306 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการกำหนดการเรียนการสอน การจัดทำหลักสูตรการสอนขององค์กรเกี่ยวกับด้านการให้บริการทางการพยาบาล และการสนทนากลุ่ม (Focus Group)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพทั่วไปของภาวะผู้นำใฝ่บริการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยภาพรวม 3 ด้าน 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ 2) ด้านการคุ้มครอง และ 3) ด้านการสร้างความร่วมมือร่วมใจ

  2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยพัฒนาผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน ให้การอบรมความรู้โดยตรงกับนักศึกษาพยาบาล รวมถึงการบรรยายและการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ประกอบด้วย การศึกษาดูงานนอกสถานที่ (Field Trip) การขึ้นฝึกปฏิบัติการบนหอผู้ป่วย (On Wand) การระดมสมอง (Brain Storming) ฝึกอบรมพัฒนานักศึกษาพยาบาลตามหลักภาวนา 4 เพื่อเสริมคุณลักษณะส่วนด้านสังคหวัตถุ 4 ให้เกิดขึ้นในจิตใจของนักศึกษาพยาบาล

  3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 1) ส่วนนำหลักการ โดยการนำหลักธรรมสู่การพัฒนาความสามารถของผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักศึกษาพยาบาล 2) วัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลสู่การเป็นพยาบาลที่มีภาวะผู้นำใฝ่บริการที่ดี 3) ส่วนกระบวนการ ปฏิบัติตามแผนติดตามประเมินผลและวิเคราะห์ผลและพัฒนาปรับปรุงแก้ไขโดยอิงจากองค์ประกอบดังนี้ การมีวิสัยทัศน์ การคุ้มครองดูแลรักษา และการสร้างความร่วมมือร่วมใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เครือมาศ เพชรชู. (2556). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการจัดการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธำรง บัวศรี. (2540). ทฤษฎีหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: พัฒนศึกษา.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2543). ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ใน ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพฤติกรรมศาสตร์. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์.

สมลักษณ์ ทองสุข. (2549). องค์การแห่งการเรียนรู้กับการพัฒนาการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 14(2), 34-47.

Sammir Ahmed. (2015). "Servant leadership of head nurses and job satisfaction among staff nurses in medical college hospitals Dhaka the people's republic of Bangladesh”. In Research report. Nursing Science Chiang Mai University.